“อาการคัดจมูก” กับ “การดำน้ำ” (Advertorial post)

0
2249

ปัญหาที่พบได้บ่อยที่สุดในนักดำน้ำทุกคนก็คือปัญหาเรื่อง “การเคลียร์หู” นั่นเอง และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การเคลียร์หูไม่ได้ส่วนหนึ่งก็มาจาก “อาการคัดจมูก”

อาการคัดจมูกเกิดได้จากหลายๆเหตุผล เช่น การติดเชื้อหวัดหรือการติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้จมูก โรคจมูก อักเสบเรื้อรัง หรือริดสีดวงจมูก

การดำน้ำทั้งๆ ที่มีอาการคัดจมูกทั้งสองข้าง ส่งผลให้แก้วหูของเราไม่สามารถปรับความดันได้ จนทำให้เกิดการฉีกขาด สร้างความอันตรายให้แก่นักดำน้ำได้อย่างสูง รวมถึงโพรงไซนัสต่างๆ  ที่อยู่บนใบหน้าของเรา

ดังนั้นเรื่องของอาการคัดจมูก จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีความเข้าใจอย่างละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้กับตัวเราโพสต์นี้ผมจะพาทุกคนไปรู้จักกับ เรื่องของการดำน้ำกับ อาการคัดจมูก กันครับ

Disclosure: โพสต์นี้ได้รับการสนับสนุนจากผลิตภัณฑ์ iliadin โดย นพ.อรรควิชญ์ หาญนวโชค

คำถามที่พบได้บ่อยในหลายๆ คน คือเมื่อเป็นหวัดมักจะมีอาการคัดแน่นจมูกตลอดเลยแม้ไม่ใช่ฤดูหนาว แล้วเราควรต้องทำอย่างไรถ้ามี “อาการคัดจมูก”มาเรียนรู้โลกใต้ทะเลกับปัญหาสุขภาพของการดำน้ำ เรื่อง“คัดจมูก” กันครับ

เราเริ่มต้นกันก่อนที่ความสัมพันธ์ ระหว่าง “รูจมูก” กับ “รูหู”

  • ที่โพรงจมูกของเราเมื่อได้รับสิ่งมากระตุ้น เช่น อากาศเย็น / กลิ่น / สารที่เราแพ้
  • หลอดเลือดดำบริเวณเยื่อบุโพรงจมูกจะขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากภาวะการอักเสบของเนื้อเยื่อบุโพรงจมูกโดยรอบ มีสารคัดหลั่งในช่องจมูกเพิ่มมากขึ้น
  • ส่งผลทำให้ช่องจมูกตีบตัน และ ทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเข้าออกของอากาศ และทำให้เกิดอาการคัดจมูกนั้นเอง

ถ้าเป็นคนทั่วไปก็คงไม่มีปัญหาใดๆ แต่สำหรับ “นักดำน้ำ ” มันคือ “เรื่องที่สำคัญมากๆ” เพราะ

  • รูหู กับ รูจมูก ปกติจะมีท่อที่เชื่อมถึงกันที่เรียกว่า “ท่อยูสเตเชียน” (Eustachian Tube)
  • ภายในรูหูของมนุษย์ จะมีเยื่อบางๆ ที่เรียกว่าเยื่อแก้วหู (ear drum หรือ Tympanic Membrane) ที่ด้านหลังของเยื่อแก้วหูคือเป็นโพรงอากาศที่และเปลี่ยนกับอากาศภายนอกได้
  • ในสภาวะปกติ หรือ อยู่บนผิวน้ำ ไม่มีความแตกต่างของความดันภายนอกและภายในหู เยื่อแก้วหูจึงอยู่ในสภาพปกติ

ถ้าเรา “ดำน้ำ” ทั้งๆที่ “คัดจมูก” อยู่ จะเกิดอะไรขึ้น

ในสภาวะปกติแต่เมื่อเราดำลงไปในน้ำ เช่นที่ความลึก 10 เมตร ความดันภายนอกรอบตัวเราจะมีมากขึ้น 1 เท่า เมื่อเทียบกับความดันภายในรูหู มนุษย์สามารถปรับสมดุลความดันนี้ได้ โดยส่งอากาศผ่านรูจมูกออกทางลำคอ (ผ่านท่อยูสเตเชียนด้วย) เช่น การกลืนน้ำลายจะทำให้ ท่อยูสเตเชียน เปิดออก และอากาศถ่ายเทกันได้ หรือการเอานิ้วมือบีบจมูกทั้งสองข้างแล้วหายใจแรงๆ เพื่อดันให้เยื่อแก้วหูที่ถูกดันเข้าไปให้กลับไปที่เดิม (Valsalva Maneuver) เยื่อแก้วหูเราจึงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

แต่ในสภาวะที่เรา “คัดจมูก” เหตุการณ์ทุกอย่างเกิดขึ้นเหมือนกันแต่ความต่างจะอยู่ตรงที่ “ทางเชื่อมของอากาศ” ระหว่าง โพรงรูหู กับ โพรงจมูกนั้น มีการอุดตัน ส่งผลทำให้ช่องจมูกตีบตัน และ ทำให้เกิดการอุดกั้นการไหลเข้าออกของอากาศ

ความดันที่เปลี่ยนไปไม่สามารถทำให้เท่ากัน ความดันยังคงเพิ่มขึ้นจนต่างกันมากๆ จนสุดท้ายเยื่อแก้วหูอาจจะฉีกขาดและทะลุได้นั้นเอง ซึ่งก็จะเหมือนภาพที่ผมยกขึ้นมาให้ดู ความรุนแรงตั้งแต่ระดับ 0 จนถึง 5  นั่นเอง

จริงๆ ไม่ได้มีแค่ รูหู เท่านั้นที่เป็นโพรงอากาศขนาดใหญ่ภายใน ยังมีโพรงไซนัสอีกที่ก็จะเกิดสภาวะที่ใกล้เคียงกันได้ พูดง่ายๆ อะไรก็ตามที่มีส่วนประกอบของ “อากาศ” อยู่ภายใน ความลึกที่ลงไปมากเท่าใด ความดันก็มากขึ้นเท่านั้น ถ้าเราไม่สามารถทำให้ความดันของสองบริเวณนี้เท่ากันได้ ก็จะเปิดปัญหาไปหมดทุกที่นั้นเอง

โดยปัญหาของอาการคัดจมูกจะส่งผลมากสุดในช่วงที่เรากำลังดำลงไปในน้ำ (Descent) เนื่องจากความดันที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ช่วงดำขึ้น (Ascent) นั้น จะเป็นช่วงที่ความดันลดลงอย่างรวดเร็ว เราจึงไม่จำเป็นต้องทำการเคลียร์หู

การรักษาอาการคัดจมูก

  • ถ้าเรามีอาการไม่มาก อาจใช้เป็นชนิด “ยาทาระเหย” ที่มีส่วนผสมของการบูร เมนทอล หรือยูคาลิปตัส เช่นวิคส์ วาโปรับ
  • หรือใช้ชนิดเป็น “ยารับประทาน” ที่มีส่วนผสมของ ซูโดอีเฟดรีน (Pseudoephedrine) หรือ ฟีนิลเอฟรีน (Phenylephrine)
  • หรืออีกวิธีคือการใช้ยาชนิด “ยาสเปรย์พ่นจมูก” ที่จะพ่นเข้าจมูกโดยตรงไปทำให้หลอดเลือดดำตรงโพรงจมูกที่ขยายตัวนั้นหดลง ส่งผลให้อาการคัดจมูกหายไปนั้นเองครับ เช่น ยาพ่นจมูก อิลิอาดิน® (0.05% ชนิดพ่น) ซึ่งมีตัวยา Oxymetazoline Hydrochloride หรือยาพ่นจมูกยี่ห้ออื่นในท้องตลาดก็มีเช่นกัน

ขอพูดถึงยาพ่นจมูกแก้คัดจมูกที่นักดำน้ำควรจะรู้จักเอาไว้ นั้นคือ

  • อิลิอาดิน® (0.05% ชนิดพ่น) มีชี่อสามัญทางยาคือ Oxymetazoline (ออกซี่เมทาโซลีน)
  • Oxymetazoline (ออกซี่เมทาโซลีน) เป็นยาสำหรับใช้ลดบวมของเยื่อบุเฉพาะที่ (topical decongestant) โดยอาศัย
  • กลไกที่ทำให้เส้นเลือดหดตัว ดังนั้นยาไหลผ่านตรงไหนก็ออกฤทธิ์ตรงนั้น สามารถหาซื้อ ได้ตามร้านขายยาทั่วไปในรูปของยาพ่นจมูก (intranasal) และยาหยอดจมูก (Nose Drops)

วิธีการใช้ยาพ่นจมูก ตัวอย่างเช่น อิลิอาดิน® (0.05% ชนิดพ่น)

  • พ่นกดข้างละ 1-2 ครั้ง โดยเมื่อใส่ปลายของหลอดยาแล้วให้หันปลายออกไปทางหางตาข้างนั้นๆ
  • ห้ามหันปลายหลอดเข้าตรงกลาง เพราะหากพ่นเป็นประจำอาจจะเกิดผนังกั้นโพรงจมูกทะลุได้
    ควรพ่นก่อนดำน้ำประมาณ 10 นาที ยาจะออกฤทธิ์หลังจากพ่นไปประมาณ 2-3  นาที
  • ยาออกฤทธิ์ได้นาน 12 ชั่วโมง ดังนั้นไม่ควรใช้เกินวันละ 2-3 ครั้ง
  • สามารถดูรายละเอียดตัว ยาพ่นจมูก อิลิอาดิน® เพิ่มเติมได้ที่ https://www.iliadin.com/th_TH/home/products/iliadin-classic-005-metered-spray.html

ข้อควรระวังการใช้ยาสเปรย์พ่นแก้คัดจมูก สำคัญมากๆ

  • หากใช้ติดต่อกันเป็นเกิน 5 วัน จะเกิดภาวะจมูกบวมย้อนกลับได้ (rebound congestion) ดังนั้นไม่แนะนำให้ใช้เป็นประจำ ให้ใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นครับ ***สำหรับการใช้ระยะเวลาที่นานเกินกว่านี้ ขอให้ปรึกษาแพทย์ที่ทำการรักษาท่านโดยตรง***
  • ในกรณีที่มีอาการคัดจมูกบ่อย ถ้ามีเหตุผลมาจากภูมิแพ้ควรพิจารณายาพ่นจมูกในกลุ่มอื่น / ยาทานแก้แพ้ ซึ่งควรได้รับการพิจารณาจากแพทย์ผ่านการตรวจร่างกายและซักประวัติเท่านั้น
  • การใช้ยาเกินขนาด สามารถทำให้เกิดอาการผิดปกติเช่น ความดันสูง ดังนั้นควรเก็บให้ห่างจากมือเด็ก
  •  ที่สำคัญมากๆ อีกอย่างคือ การป้องกันอาการคัดจมูก ควรหลีกเลี่ยงสภาวะแวดล้อมที่จะทำให้เราเกิดอาการแพ้ต่อสิ่งนั้นๆได้เช่น ฝุ่นเยอะ แพ้ขนสัตว์ ควันบุหรี่ รักษาอาการภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เรื้อรังที่อาจเป็นสาเหตุของการคัดจมูกเรื้อรัง

สุดท้ายที่ต้องระลึกไว้เสมอคือ

ไม่มีอะไร 100% ในเรื่องการแพทย์ ดังนั้นในคนที่ป่วยเป็นหวัด แม้จะใช้ยาตัวนี้แล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัยจากอาการปวดหูหรือโพรงไซนัส ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันในขณะดำน้ำ เพราะยาเพียงแค่ช่วยในการลดบวม แต่ไม่ช่วยในการลดน้ำมูกและสารคัดหลั่ง จึงยังสามารถที่จะเกิดการปวดหู ไม่สามารถปรับความดันได้

จงชั่งน้ำหนักให้ดีหากจะดำน้ำในขณะที่เป็นหวัด โดยเฉพาะอันตรายที่จะเกิดขึ้นในขณะดำน้ำ จึงเป็นข้อกังวลที่บอกต่อกันว่า หากคุณเป็นหวัด ไม่แนะนำให้ดำน้ำ เนื่องจากหากไม่สามารถปรับความดันได้ อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นเยื่อแก้วหูขาด เกิดบ้านหมุนในน้ำ อาจจะส่งผลให้เกิดการสำลักน้ำ หรือจมน้ำได้