บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแชร์ประสบการณ์การเลือกเครื่องแต่งกายเพื่อขึ้นยอดเขาคินาบาลู (Kinabalu) และรินจานี (Rinjani)
ยอดเขาสองอันนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 3,700 – 4,100 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล ไม่ว่าจะเป็นคินาบาลู (Kinabalu) หรือรินจานี (Rinjani) สเต็ปการแต่งกายนี่ผมบอกเลยว่าแทบจะเหมือนกันเป๊ะๆ เพราะหนาวพอๆกัน เปียกพอๆกัน และก็มีความเหงื่อแตกพอๆกันครับ
คือต้องแบ่งการแต่งกายออกเป็น 2 ส่วน
- ส่วนเดินในพื้นที่ก่อนถึงที่ Base camp
- ส่วนวันที่เดินขึ้น Summit
คินาบาลู (Kinabalu) | รินจานี (Rinjani) | |
ช่วงแรก (First part) | Timpohon gate > Laban Rata | หมู่บ้าน Sembalun/Senaru > Crater rim |
ช่วงหลัง (Second part) | Laban Rata > Low’s Peak summit | Sembalan crater rim > Rinjani summit |
ช่วงแรก (First part) ทั้งของคินาบาลู (Kinabalu) และรินจานี (Rinjani)
- จะเป็นการเดินในเขตของความสูงที่ประมาณ 600 – 3,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
- เป็นพื้นที่ๆอยู่ใต้ชั้นเมฆ และอากาศเปลี่ยนแปลงเร็วมาก
- ฝนตกหนักเกิดขึ้นได้อยู่บ่อยๆ และสภาพเส้นทางจะกลายเป็นอ่างน้ำขังได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเส้นทางที่ฝั่งด้านรินจานี (Rinjani)
- การเทรคในเวลากลางวัน อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 15-25 องศาเซลเซียสครับ ขึ้นกับความสูงและความแรงลมในขนาดนั้น
ช่วงหลัง (Second part) ทั้งของคินาบาลู (Kinabalu) และรินจานี (Rinjani)
- จะเป็นการเดินในเขตของความสูงที่ประมาณ 3,000 – 4,100 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
- เราจะเดินกันอยู่เหนือชั้นเมฆกันครับตรงนี้
- สิ่งที่เจอแน่ๆคือความแรงลม หมอกหรือฝน และโดยปกติเราจะเริ่มต้นเดินกันต่อประมาณตีสอง (2.00 AM) ซึ่งจะทำให้อุณหภูมิจะอยู่ที่ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียสได้เลยครับ
- ด้วยความที่เส้นทางในช่วงแรกและหลังแตกต่างกันมาก การเตรียมชุดก็เลยไม่เหมือนกันครับ
ใส่อะไรไปเทรคดี!!!!!! แบบสรุปเลยนะ
ก่อนอื่นต้องขอบคุณไอเดียดีๆจากน้องคู่รักโบ๊ทกับฝ้ายจากเพจ PakaPrich ที่ให้ไอเดียผมเลยนะครับ
การใส่เสื้อหนาวที่เหมาะสม ไม่ใช่ใส่ให้จำนวนชั้นหนามากที่สุด
แต่เป็นการเลือกเสื้อที่เหมาะสมและคุณสมบัติที่ลงตัวมากกว่า
เหมือนกับชั้นผิวหนังของสัตว์ที่ประกอบไปด้วยชั้นผิวหนังด้านนอก ชั้นไขมันกักเก็บความร้อน หรือชั้นผิวหนังด้านใน ก็เป็นหลักการเดียวกัน
ชั้นในสุด : Base layer หรือ ลองจอน
เป็นชั้นในสุดติดกับผิว ทำหน้าที่ระบายเหงื่ออย่างรวดเร็วเพื่อให้สบายตัวเวลาทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมาก เช่น เดินเทรค หรือปีนเขา และเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (hypothermia) ในกรณีที่เหงื่อออกในสภาพอากาศหนาวจัดซึ่งอาจทำให้เกิดอาการช็อคและอาจเสียชีวิตได้
ชั้นกลาง : Mid Layer (Insulating Layer)
คือชั้นที่รักษาความร้อนที่ร่างกายผลิตขึ้น เป็นชั้นที่สองถัดจาก base layer โดยผ้าที่ใช้ทำ mid layer จะมีคุณสมบัติในการกักเก็บความร้อนได้ดี ชนิดของวัสดุที่ใช้ทำชั้น mid layer อาจทำมาจากขนสัตว์ ผ้าใยสังห์เคราะห์ หรือขนเป็ด
ชั้นนอก Outer Layer (Protective Layer)
คือชั้นที่ใส่อยู่ข้างนอกสุด ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ในการปกป้องเสื้อผ้าชั้นในและร่างกายจากสภาพอากาศภายนอกไม่ว่าจะเป็นลม, ฝน, หรือหิมะ และเป็นอีกชั้นที่ช่วยเก็บความอบอุ่นโดยการกันไม่ให้อากาศอุ่นจากชั้น mid layer กระจายออกจากตัวป้องกันไม่ให้อากาศหนาวจากภายนอกเข้ามาภายในเสื้อ
หากคิดอะไรไม่ออก ให้คิดถึงหมูกรอบครับ เราจะเห็นถึงชั้นผิวหนังของหมู และชั้นไขมัน จนกระทั่งถึงชั้นในกล้ามเนื้อที่อยู่ใต้สุด
ก็จะพอเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับถึงหลักการเลือกเสื้อหนาวมาใส่เวลาที่จะไปเดินป่าหรือเดินเขา
Base layer (ลองจอน)
- เป็นเสื้อชั้นที่อยู่ในสุดติดกับผิว เป็นชั้นที่ทำหน้าที่ในการระบายเหงื่ออย่างรวดเร็วเพื่อให้รู้สึกสบายตัวเวลาทำกิจกรรมที่เหงื่อออกมาก เช่น เดินเทรค หรือปีนเขา และเพื่อป้องกันภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ
- จุดประสงค์คือป้องกันไม่ให้ความร้อนออกจากร่างกาย และคุณสมบัติอีกอย่างที่สำคัญมากคือต้องมีการระบายที่ดีมาก
- ลองคิดภาพ ถ้าเราใส่เสื้อในที่หนามาก กันหนาวได้ดีมาก แต่กลายเป็นว่าไม่สามารถระบายอากาศได้ดี สุดท้ายเหงื่อของเราก็จะขังอยู่ในเสื้อ กลายเป็นทำให้หนาวทั้งข้างนอก เย็นทั้งข้างใน อุณหภูมิร่างกายจะต่ำลงไปได้อีกครับ เหนื่อยยิ่งกว่าเดิม
- Base layer ที่จะเอาไปใช้ที่คินาบาลูหรือรินจานี ควรเลือกประเทศที่ทำจากผ้าใยสังเคราะห์ประเภท Nylon หรือ Polyester ที่ตอบโจทย์ในคุณสมบัติทุกอย่าง
- เสื้อที่ผมเอาไปใช้คือ Columbia Midweight stretch ทั้งตัวเสื้อและกางเกง โดยเสื้อรุ่นนี้มีคุณสมบัติอย่างหนึ่งคือเทคโนโลยี Omni heat ที่จะมีจุดสะท้อนความร้อนเล็กอยู่ด้านในเสื้อทำให้เสื้อรุ่นนี้สามารถกักเก็บความร้อนเอาไว้ใต้ผิวหนังเราได้อย่างดีที่สุด และยังมี Omni wick ที่ทำให้เม็ดเหงื่อของเราระเหยออกจากเสื้อได้เร็วที่สุดเช่นเดียวกัน
- Base layer รุ่น Flashdry ของ The North face ก็เป็นอีกรุ่นที่คุ้มค่าคุ้มราคาในระดับกลางครับ
- ถ้าคิดจะลงทุนซื้อ Base layer สักตัวเพื่อจะตอบโจทย์ทุกการเดินทางในอนาคตอีกไม่ว่าจะเป็น Annapurna Curcuit, Everest Base Camp, K2 หรือตามยอดเขาต่างๆ การลงทุนซื้อของดีๆของ Columbia หรือ TNF ไปเลยอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าได้ครับ
- หรือถ้าจะประหยัดงบลงเพื่อจะได้ลงทุนเสื้อตัวอื่นเพิ่ม ลองดูตัว Wed’ze Base layer เป็นอีกหนึ่งทางเลือกได้ครับ เป็นเนื้อผ้า Polyester เหมือนกัน แต่ว่าการสะท้อนความร้อนจะสู้ตัวด้านบนไม่ได้
- เสื้อชั้นในที่ห้ามเอาไปใช้เด็ดขาดคือผ้าที่ทำจาก cotton หรือผ้าฝ้ายครับ เพราะมันอมน้ำ สุดท้ายเราจะหนาวกว่าเดิมเพราะเสื้อนี่แหละ
Insulating layer (ชั้นกลาง)
- ชั้น Insulating layer ถือเป็นชั้นที่มีความสำคัญ เพราะมันคือชั้นที่ใช้กักเก็บความร้อนไม่ให้ออกไปนอกร่างกาย พร้อมทั้งป้องกันความเย็นไม่ให้สัมผัสกับผิวหนังอีกด้วย
- เสื้อชั้นนี้จะเป็นเสื้อ Fleece (ฟรีซ) หรือเสื้อ Down (ขนเป็ด) การจะเลือกใช้ Fleece หรือ Down ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในเวลานั้นๆ หรือบางครั้งเราก็อาจจะใส่มันเข้าไปทั้งสองชั้นเลยก็ได้
- ที่คินาบาลู (Kinabalu) หรือรินจานี (Rinjani)
- ในวันที่เดินก่อนถึง base camp อุณหภูมิจะอยู่ที่ 15-20 องศา
- โดยปกติต่อให้อากาศหนาวที่สุดก็ต่ำสุดๆที่ประมาณ 2-5 องศาเซลเซียสครับ ในวันที่เดินขึ้นยอด จะไม่ได้ต่ำขนาดเลขติดลบอะไรแบบนี้
- ตอนขึ้นคินาบาลู (Kinabalu) ผมได้ใช้ Fleece Columbia Titanium Titan pass 2.0 เป็น insulating layer ก็รู้สึกไปได้แบบสบายๆ เลยครับ โดยสิ่งที่ต้องดูก่อนจะเลือกเสื้อ fleece คือปริมาณของเส้นใยของเสื้อ ยิ่งมากยิ่งเก็บความอุ่นได้ดี แต่ปัญหาที่ตามมามันจะหนักและทำให้เราเคลื่อนไหวตัวได้ลำบาก
- <100 g/m² = ultralight
100 g/m² = lightweight
200 g/m² = midweight
>300 g/m² = heavyweight - Fleece ที่จะเอาไปคินาบาลูหรือรินจานี ควรจะมีปริมาณเส้นใยที่ประมาณ 100-200 g/m² ครับ ถ้าจะมองที่งบราคาไม่แพงนัก ก็ดูที่ของยี่ห้อ Quechua ได้
- <100 g/m² = ultralight
- ตอนที่ขึ้นยอดรินจานี (Rinjani) ผมใช้เสื้อ Down เป็น insulating layer แทน คือรุ่น The North Face Thermoball ก็สามารถไปได้สบายๆเช่นกัน
- สรุปเสื้อชั้นกลาง (Insulating layer) ไม่ได้เฉพาะเจาะจงมากนักสำหรับที่คินาบาลูหรือรินจานี เลือกตามที่มีจะเป็น Down หรือ Fleece ก็ได้ แต่….
- สิ่งที่สร้างความแตกต่างคือชั้นนอกที่กำลังจะพูดถึงหรือชั้น outer layer ครับ
Shell jacket or Outer layer (เสื้อกันฝน+กันลม)
- ทั้งคินาบาลู (Kinabalu) และรินจานี (Rinjani) มีสิ่งที่เหมือนกันคือ ฝนตกแรงและหนัก ในขณะเดียวกันลมที่แรงบาดใจก็อาจจะมาเยือนได้ในเวลาที่ใกล้เคียง
- เวลาเลือกเสื้อ shell เราต้องสนใจกับสิ่งที่เรียกว่า Waterproof rating กับ Breathability
- เสื้อกันลมกันฝน บางรุ่น มักจะเคลมว่าตัวเองกันน้ำกันลมได้ดี แต่บางทีมันดีพอกับในสถานการณ์ที่เราจะไปหรือไม่ ต้องมาดูตามรายละเอียดตามนี้
- Waterproof rating คือสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของเสื้อในการทนน้ำได้ขนาดไหน ยิ่งมากยิ่งดี ให้ดูตามตารางนี้นะครับ
Waterproof Rating (mm) สภาวะ 0-5,000 mm ฝนตกเพียงเล็กน้อย, หิมะแห้งๆ 6,000-10,000 mm ฝนตกเพียงเล็กน้อย, หิมะปานกลาง 11,000-15,000 mm ฝนตกปานกลาง, หิมะปานกลาง 16,000-20,000 mm ฝนตกหนัก,หิมะตกหนักจนเปียก 20,000 mm+ ฝนตกหนัก, หิมะตกหนักจนเปียก - Breathability อันนี้จะบ่งบอกถึงความสามารถในการให้เหงื่อ (น้ำ) ผ่านชั้นเสื้อแล้วระบายออกไปนอกร่างกายและนอกเสื้อได้ ถ้าเสื้อมีคุณสมบัติอันนี้ต่ำก็ให้คิดภาพเหมือนกับพวกนักมวยที่ใส่เสื้อ jacket แล้วออกไปวิ่งกลางแดดครับ เหงื่อท่วมตัวอยู่ด้านใน แต่เราคงไม่ต้องการสภาพนี้เมื่อเราอยู่บนภูเขาสูงที่อากาศหนาว เพราะมันจะกลายเป็นข้างในร้อนจัด ข้างนอกหนาวตาย สุดท้ายจะเหมือนกับเราแช่อยู่ในน้ำเหงื่อของเราเอง นำไปสู่ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำ (Hypothermia)
- Breathability ดูได้จากค่า RET scale – Resistance to Evaporative Heat Transfer ซึ่งยิ่งน้อยแปลว่ายิ่งระบายอากาศได้ดีครับ
-
RET การระบายอากาศ น้อยกว่า 9 ระบายอากาศได้ดีมาก ระหว่าง 9 – 12 ระบายอากาศได้ปานกลาง ระหว่าง 12 – 20 ระบายอากาศได้น้อย มากกว่า 20 ไม่มีคุณสมบัติการระบายอากาศ
-
- คินาบาลู (Kinabalu) หรือรินจานี (Rinjani) เป็นที่ๆทั้งหนาว ลมแรง พร้อมทั้งเปียกในเวลาเดียว เสื้อที่เอาไปค่า Waterproof rating ก็ควรมากกว่า 10,000 และค่า RET ก็ควรจะน้อยกว่า 12
- ถ้าต้องการแบบกระชับและตัวเดียวจบ Columbia Outdry ซึ่งมีคุณสมบัติครบตามที่ต้องการทั้งหมด ที่อุณหภูมิและลมแรงๆบนยอดเขาไม่สามารถทำอะไรเราได้เลย แถมมาเจอฝนตกหนักตอนระหว่างขาลงก็เดินลุยฝนสบายๆ คนอื่นต้องไปหลบใต้ศาลากันหมดครับ
กางเกง Trekking
- ในช่วง First part ของการเดินทั้งที่รินจานี (Rinjani) หรือคินาบาลู (Kinabalu) แนะนำเป็น กางเกงขาสั้น หรือไม่ก็กางเกงเดินป่าแบบบ้านเราครับ เอาที่แบบแห้งเร็ว ถ้ากางเกงมีคุณสมบัติกันน้ำ (water repellant) ด้วยก็จะยิ่งดีมากเพราะผมไปที่นี่ทั้งสองข้างเจอพายุถล่มตลอดทางในช่วงนี้ เปียกแบบยับเยินมาก และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือกางเกงที่สามารถกัน UV ได้ โดยดูจากค่า UPF ครับ ถ้าประมาณ 40-50 นี่คือโอเค
- ในช่วง Second part ของการเดินทั้งที่รินจานี (Rinjani) หรือคินาบาลู (Kinabalu) แนะนำเป็น กางเกงที่หนาหน่อยนะครับ แต่ไม่ต้องถึงขั้นแบบหน้าหนาวอะไรแบบนั้นครับ ที่สำคัญคือต้องกันลมและน้ำได้ (waterproof) และมีคุณสมบัติการระบายอากาศที่ดี (Breathability) เพราะเหงื่อเราจะออกหนักมากครับ แต่ในขณะที่อุณหภูมิข้างกายเรากลับต่ำมาก
หมวกคลุมหัว (Bonnie)
- ควรจะเป็นหมวกที่สามารถปิดหูทั้งสองข้างด้วยนะครับ
- ผมใช้รุ่น Columbia Thermarator™ Hat สามารถใช้งานได้ดีทั้งที่คินาบาลู (Kinabalu) และรินจานี (Rinjani)
ปลอกคอ (Neck gaiter)
- เอาไว้ใช้ตอนวันขึ้น summit เลยครับ
- ปิดทุกส่วนของใบหน้าให้เหลือแต่เพียงลูกกะตาพอแล้ว กันเวลาที่ลมวิ่งผ่านมาทีตัวไม่งั้นจะหนาวสะท้านฟ้า
- Columbia Thermarator™ Neck Gaiter เป็นอีกรุ่นที่มีคุณภาพที่ดีและราคาที่เหมาะสมครับ
ถุงมือ (Glove)
- เอาแบบที่กันทั้งลมและน้ำได้ (Waterproof) นะครับ
- ในเส้นทางคินาบาลู เราจะต้องจับเชือกเพื่อดึงตัวหรือพยุงตัวตอนขึ้นยอดตลอดเวลา ถ้าเวลาฝนตกเชือกพวกนี้ก็จะเปียกครับ
- ในเส้นทางรินจานี เจอฝนเจอลมแน่นอนครับ ต่างกันเพียงมันไม่มีเชือกให้จับ
- Columbia Thermarator™ Glove เป็นอีกรุ่นหนึ่งทีดี กันลมและกันน้ำในสองที่นี้และ และยังสามารถใช้งานนิ้วโป้งและนิ้วชี้กด Smart phone ได้สบายๆอยู่ครับ
ปลอกคลุมแขน (Arm Sleeves)
- เอาไว้ใส่ในช่วงแรก เพื่อกันแสงแดดไม่ให้ผิวไหม้ ป้องกันรังสี UV ที่จะทำร้ายผิวหนังของเรา
- โดยรุ่นที่แนะนำคือ Columbia Freezer Zero™ Arm Sleeve ที่มีค่า UPF 50 ช่วยกรองแสง UV ที่จะมาถึงผิวหนังของเราจนเหลือแค่ 2% และยังมีเทคโนโลยี Omni-Freeze ที่จะแปลงเหงื่อของเราที่ออกมาช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและรู้สึกเย็นมากขึ้นครับ
ปลอกคลุมคอ (Neck Gaiter)
- เอาไว้ใส่ในช่วงแรก เพื่อกันแสงแดดไม่ให้ผิวไหม้ ป้องกันรังสี UV ที่จะทำร้ายผิวหนังของเรา
- โดยรุ่นที่แนะนำคือ Columbia Freezer Zero™ Neck Gaiter ที่มีค่า UPF 50 ช่วยกรองแสง UV ที่จะมาถึงผิวหนังของเราจนเหลือแค่ 2% และยังมีเทคโนโลยี Omni-Freeze ที่จะแปลงเหงื่อของเราที่ออกมาช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นและรู้สึกเย็นมากขึ้นครับ
หากใครสนใจอุปกรณ์การเดินทาง เป้แบคแพค เสื้อแจ็คเก็ตกันลมกันฝน เสื้อขนเป็ด ลองจอน ถุงมือกันหนาว กระเป๋าใส่เงินกันขโมย
สามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าได้ที่ ร้านของพวกเรา The Puffin House