สวัสดีทุกๆคนครับ วันนี้ผมมีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะนำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวที่สุดแสนจะพิเศษแห่งนี้
มันไม่ใช่ประเทศที่สวยที่สุดอย่างฝรั่งเศส หรือมีภูมิประเทศที่ยิ่งใหญ่อลังการอย่างเนปาล
แต่มันมีความดิบ ความลึกลับ เนื่องจากด้วยความประเทศที่ยังไม่ได้ปรากฎสู่สายตาชาวโลกมากนัก
เสน่ห์ทางการเดินทางมันจึงยังคงอยู่อย่างครบถ้วน แทบไม่ได้รับการปรุงแต่งจากวัฒนธรรมภายนอก
ยิ่งไปกว่านั้นเมืองหลวงอาชกาบัต (Ashgabat) ยังเป็นเมืองที่สุดแสนจะประหลาดจากความคิดของผู้นำประเทศคนหนึ่ง
แต่จะประหลาด พิลึกกึกกือขนาดไหน เป็นความทรงจำขนาดที่เรียกได้ว่าเอาไปเล่าให้หลาน เหลน โหลน เลยได้เหรอไม่ ต้องมาติดตามดูกัน
ลืมบอกไปว่า ประเทศที่ผมว่าคือประเทศ “เติร์กเมนิสถาน” นั่นเองครับ
ทีนี้คำถามแรกเลย
ทำไมต้องมาที่นี่
ตอบ เพราะมันต้องมา ถ้าจะทำทริป overland จากอิหร่านข้ามมายังเอเชียกลางหรือเอเชียใต้ เรามีตัวเลือกเพียงแค่ เติร์กเมนิสถาน อัฟกานิสถาน และปากีสถาน หลังพิจารณาอย่างถี่ถ้วนในเรื่องของความปลอดภัยแล้ว ตัวเลือกอย่างเติร์กเมนิสถานจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้
วีซ่า ขอยากแค่ไหน
ตอบ ปัญหาใหญ่ของที่นี่คือการหาสถานทูตเติร์กเมนิสถานมากกว่าครับ ว่ามันมีอยู่ ณ แห่งหนตำบลใดในโลกหล้าบ้าง ทีนี้พอเจอแล้ว จะมี visa ให้ทำได้แค่สองประเภทเท่านั้น
- Tourist visa ต้องไปกับทัวร์เท่านั้น และจำนวนวันที่ได้เท่ากับจำนวนวันที่ทัวร์จัดให้ และที่สำคัญมันแพงมาก เพราะเกือบจะผูกขาดนั่นเอง
- Transit visa จะขอได้ ต่อเมื่อต้องมี visa ประเทศต้นทางและประเทศปลายทางก่อนเท่านั้น และจะเข้าออกนอกประเทศได้เฉพาะด่านชายแดนที่เรายื่นเรื่องไว้เท่านั้น จำนวนวันที่ได้สูงสุดคือ 3-5 วัน ขึ้นตามดุลยพินิจของกงสุล
และแน่นอนพวกเราเลือกวิธีหลังกันครับ และเราไปทำวีซ่ากันที่ประเทศอิหร่านนั่นเอง
ข้อมูลเบื้องต้น
กรุงอาชกาบัต (Ashgabat)
เป็นเมืองหลวงและเมืองที่ให
เรื่องราวของเมืองนี้เริ่มต้นที่ว่า
ภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโ
เม็ดเงินจำนวนมหาศาลได้สร้างเจริญเติบโต
มีการก่อสร้างอาคารบ้านเรือ
และมีการนำเข้าหินอ่อนสีขาว
อาคารจำนวนที่ได้รับการสร้างขึ้น
โดยคาดว่าเมืองใหม่ที่ถูกสร้างอย่างอู้ฟู่ใช้หินอ่อนไป
จนเข้าให้คำนิยมกันเลยว่า มันเหมือนกับไม่ใช่เมืองที่มีอยู่บนโลกใบนี้เลยจริงๆ
ถ้าจะบอกเมืองอาชกาบัต คือเมืองที่ถูกเนรมิตด้วยเงินจริงๆก็ไม่ผิดนัก
ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย Karakum อันแสนแห้งแล้ง ไม่ต่างจากตะวันออกกลางเช่น ดูไบ อาบูดาบี หรือรัฐอาหรับอื่นๆ
แต่เบื้องล่างลงไปหลายร้อยเมตรกลับเป็นขุมก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก
มันจึงได้เนรมิตให้เมืองหลวงแห่งนี้เปลี่ยนจากหมู่บ้านกลางทะเลทราย
กลายเป็นเมืองที่สร้างด้วยหินอ่อนสีขาวสะท้อนแสงพระอาทิตย์ตั้งตระหง่านท้าทายธรรมชาติอยู่ทุกๆวัน
Theme ของเมืองนี้คือสีขาว ทำให้สมชื่อกับความหมายของชื่อที่แปลว่า “City of Love”
เรียกได้ว่าทุกคนที่มาเมืองนี้จะหลงรักเข้าอย่างหัวปักหัวปำเลยละ
โดยเฉพาะในส่วนของใจกลางเมือง
นี่เรียกว่าสะอาดมาก ไม่มีรถติด ไม่มีเสียงแตร ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างไม่รีบเร่ง
อ่าาาา นี่มันโลกยูโธเปียหรือเปล่าาา ผมคิดในใจ
แถวๆนี้ เป็นโซนโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
มีเด็กมากมายวิ่งออกมา ยังกับมดที่กำลังแตกรัง
เด็กทุกคนวิ่งไปรอรถเมล์กันที่ป้าย ส่วนบางคนพ่อแม่ก็มารอรับอยู่แล้ว
สถานที่บางแห่งก็ก่อสร้างออกมาตามแต่จินตนาการของคนวางผังเมือง
สีขาวของเมือง กับสีฟ้าของท้องฟ้า
มันช่างเข้ากันได้ดีและกลมกลืนกันมากครับ
มลพิษน่าจะน้อยมาก เพราะการจราจรเขาคล่องตัว
คนที่นี่น่าจะมีความสุขน่าดู (จากการที่เห็นในเบื้องต้น)
การเดินชมเมืองเป็นอะไรที่สุนทรีย์อย่างมาก
เนื่องจากทางเดินเท้าริมถนนจะไม่มีอะไรมากวนใจเลยแม้แต่น้อย
เดินไป พร้อมกับดูบรรยากาศของเมืองไปพลางๆ
แต่ทั้งหมดนี้เหมือนกับเป็นแค่น้ำจิ้มเท่านั้น
เพราะหลังจากที่ผมเดินออกจากเขตนี้เข้าสู่ใจกลางเมือง
ทุกอย่างมันแทบจะเปลี่ยนไปมากแบบสุดๆ
ทางเดินข้ามถนน
อย่าเที่ยวไปเดินข้ามบนถนนกัน เพราะมันไม่มีทางม้าลาย ไม่มีสะพานลอย
สร้างบนดินแล้วมันเสียทัศนียภาพ เขาเลยมาสร้างทางลอดใต้ดินให้ในเกือบทุกๆแยก
ตรงกำแพงก็จะเอาพวกภาพศิลปะมาติดไว้ ไม่มีโฆษณาขายสินค้าแบบบ้านเรา
อีกทั้งคนเดินยังน้อยมาก จนผมได้ยินเสียงหายใจตัวเองทุกครั้งที่เดินผ่านอุโมงค์ข้ามถนน
หาที่พัก หายากแทบขาดใจ ที่นี่ไม่ใช่ประเทศสำหรับ Backpacker
อย่าไปตามหา Hostel หรือ guesthouse เพราะมันไม่มี
แถมโรงแรมก็มีอยู่แสนน้อยนิด บางทีก็ไม่รับชาวต่างชาติ ต้องเช็คกันไปดีๆ
สุดท้ายก็เลยมาจบที่โรงแรมแห่งหนึ่งจากคำแนะนำของ Lonely planet
ทีนี้มาดูที่พักกันดีกว่าครับ
เมืองสวยขนาดนี้แล้ว โรงแรมมันจะสวยขนาดไหน
สถาปัตยกรรมสไตล์โซเวียต ที่ไร้ซึ่งความโค้ง
มีแต่แท่งสี่เหลี่ยมที่ไร้ที่แสดงถึงความเท่าเทียมและเข้มแข็ง
อายุอานามก็เท่าๆกับสมัยของรัฐโซเวียตที่บ่งบอกถึงความมั่นคงของอาคารได้เป็นอย่างดี
…….
ผมเดินเข้าไปข้างใน แต่ผมกลับหาทางเข้าประตูโรงแรมไม่เจอ
เพราะประตูทุกบานมันล็อคหมด มีอยู่สิบบานแต่เปิดได้บานเดียว
พอเปิดเข้าไป บรรยากาศนี่มันหนังรัสเซียชัดๆ
อึมครึมอย่างกับบ่อนคาสิโน พนักงานที่หน้าตามุ่ยไร้ซึ่งความเอ็นดูนักท่องเที่ยวอย่างพวกเรามาก
ผมเดินไปที่ Reception เพื่อถามรายละเอียดข้อมูลต่างๆ
พบว่าค่าที่พักสูงมาก 60 US dollar (ถ้าเป็นคนท้องถิ่นจะได้ลดราคาลงไปมาก)
ไม่มีการต่อราคา ไม่มีอาหารเช้า ไม่มีคนยกกระเป๋า ไม่มีอะไรทั้งนั้น
มีเพียงแต่ที่ซุกหัวนอนทีเขามอบให้แก่เราในคืนนี้
หลังจากที่เราถูกบังคับจ่ายเงินให้กับ reception เป็น US dollar เท่านั้น (ทั้งๆที่ประเทศตัวเองใช้สกุลเงิน Manat)
เขาก็จะให้เศษกระดาษที่บ่งบอกเป็นหลักฐานแทนใบเสร็จ แล้วเราก็เอาเจ้าใบที่ว่านั่นถือขึ้นมาที่ชั้นห้องพัก
โรงแรมมีหลายชั้นครับ ถ้าเดินไม่ไหวก็ใช้ลิฟต์ได้ แต่ แต่
ลิฟต์นี่ก็อายุน่าจะหลายสิบขวบได้แล้ว กว่าจะขึ้นได้แต่ละครั้ง ลุ้นแทบขาดใจ ชีวิตนี้ยังต้องเดินทางอีกไกล
เลยขอแค่ครั้งเดียวแล้วมาขึ้นบันไดแทนดีกว่า ขึ้นมาถึงด้านบน
บรรยากาศข้างล่างว่าหลอนแล้ว เดินขึ้นมาถึงชั้นห้องพักกลับหลอนยิ่งกว่า
เศษกระดาษใบนั้น จะต้องยื่นให้สาวใหญ่ผมบลอนด์ที่เป็นคนเฝ้าประจำชั้นนี้อยู่ แล้วเขาก็จะไปเปิดประตูให้เรา
ธรรมชาติของโรงแรมสไตล์โซเวียตจะเป็นแบบนี้ครับ
แต่ละชั้นจะมีผู้ดูแล ซึ่งจะกินอยู่นอนกันตรงนั้น เขาจะเป็นคนทำความสะอาด เปิดประตู ให้กับแขกทุกคน
แขกมาใหม่ก็มายื่นใบเสร็จแล้วเขาก็จะให้กุญแจไปเปิดห้อง ถ้าจะออกก็ล็อคห้องแล้วก็เอากุญแจมาคืน
เรียกได้เลยว่า ความปลอดภัยขั้นสูงสุดจริงๆ T_T
อึ้งไปสักเล็กน้อยกับห้องพักราคา
เบาะที่แข็งอย่างกับหินปูน ช่วยทำให้หลังเราไม่ผิดรูป
หมอนที่มีคราบสีดำ สีน้ำตาล ติดอยู่ ช่วยให้เรานอนหน้าตรง อากาศจากปอดจะได้ถ่ายเทดี
ฮีตเตอร์ ตู้เย็น ที่ใช้ไม่ได้ ทีวีที่ไม่มีปลั๊ก ช่วยทำให้เราประหยัดไฟให้กับประเทศเขามากขึ้น
พื้นพรมข้างหลังที่เหมือนไม่ได้รับการทำความสะอาดมานาน ก็เป็นการช่วยประหยัดพลังงานของคุณป้าผู้ดูแล
เรียกได้เอาความคิด Think positive เข้าสู้สถานการณ์เป็นหลัก
เหมือนกับว่าเรากำลังมาพักโรงแรมวิถีชุมชนอยู่เลยครับ
แอบไปดูห้องน้ำหน่อย ของถูกและดีอาจจะมีจริงอยู่ในโลก
แต่ของที่ไม่ถูกและไม่ดีมันก็อาจจะมีจริงอยู่ในโลกเช่นเดียวกัน
คราบตะไคร่น้ำที่เกาะอยู่ตามพื้น หรือคราบสีดำตามชักโครกหรืออ่างอาบน้ำช่วยสร้างฟีลลิ่งในการใช้บริการได้เป็นอย่างดี
ยังดีที่ยังมีกระจกให้ส่องหน้าตัวเอง แต่กลับไม่มีอ่างล้างหน้าหรือชั้นวางของให้ เหลือแต่ตอที่ทิ้งไว้ให้ดูต่างหน้า
ประตูที่ไม่ต้องลงกลอนให้เสียแรง เพราะมันไม่มีกลอนให้ลงแรงตั้งแต่ต้น เขาก็เลยเจาะรูตรงตรงประตูเอาไว้ให้ดูต่างหน้าว่ามีใครอยู่ในห้องน้ำเหรอเปล่า
หลังจากที่อิ่มเอมกับบรรยากาศห้องพักกันพอหอมปากหอมคอชวน
ผมคิดได้ทันทีเลยว่า ถ้าขนาดโรงแรมยังขนาดนี้
แล้วบรรยากาศภายนอกมันน่าจะผจญภัยขนาดไหนกัน
จึงรีบเคลียร์กระเป๋าเข้าที่ให้เรียบร้อยแล้วก็ออกตะลุยโลกทันที
แต่ปัญหาใหญ่อย่างมากของการท่องเที่ยวในอาชกาบัต
ถึงแม้สถานที่ทุกแห่ง ถนนทุกสาย จะไม่มีป้ายติดว่า “ห้ามถ่ายรูป”
แต่ที่นี่คือ “มันเป็นเมืองที่ห้ามถ่ายรูปครับ”
ทั้งๆที่ตึกรามบ้านช่องเขานี่สวยมากครับ เอาไปทำรีวิว ทำสารคดี นี่ปารีสก็เถอะ แพ้แน่นอน
แต่เหตุผลที่ทำไมถึงห้ามถ่าย ถามไปก็ไม่มีใครตอบได้
ไม่ใช่เพราะเขาไม่ตอบนะครับ แต่เพราะเขาคุยกับเราไม่รู้เรื่องมากกว่า 555+
แถมตำรวจที่นี่ยืนกันชุกชุมยิ่งกว่ายุงลายในบ้านเราเสียอีก
ทุกสองแยก สามแยก หรือสี่แยก มีมันทุกแยก และเขาจะเพ่งเล็งกับนักท่องเที่ยวเป็นพิเศษ
เรียกได้ว่าถ้าเรายกกล้องขึ้นเมื่อไร
“ปรี๊ดดดดดดดดด”
เสียงนกหวีดความดังระดับ 90 เดซิเบล จะลอยมาจากทิศไหนก็ไม่รู้
ทันใดนั้นตำรวจนายนั้นก็โผล่มาจากทิศทางที่ไม่ทราบสัญญาณพร้อมกับเข้าประชิดตัวทันที
ตำรวจบางคนก็แค่โบกมือ เป็นแค่การเตือนว่าห้ามถ่าย
บางคนก็เดินเข้ามาประชิดตัวเพื่อขอดูว่าถ่ายอะไร
บางคนหนักกว่านั้นคือมาสั่งให้กดลบรูป delete กันตรงนั้นเลยทีเดียว
ไม่ว่าจะบ้านคน อาคารราชการ สัตว์เลี้ยง หรือแม้แต่ผมนั่งลงข้างทางเพื่อหยิบอะไรมากินเข้าปาก
ก็ยังโดน “ปรี๊ดดดดด”
ผมก็เดินลัดเลาะไปตามเขตเมืองชั้นใน กล้องที่ซุกเอาไว้ในกระเป๋า ถูกหยิบมาถ่ายอย่างรวดเร็ว
โฟกง โฟกัส อะไรไว้ทีหลัง เอาภาพมาก่อนเป็นใช้ได้
จนผมเจอชายชาวเติร์กเมนคนหนึ่ง เป็นชาวบ้านที่เดินผ่านผมมา และเห็นผมทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างร้ายแรงอยู่นั่นคือการถ่ายรูป
“Photo Big problem” นี่คือสิ่งที่เขาพูดกับผมมา เป็นภาษาอังกฤษคำเดียวที่เขาพูดได้
และความหมายของมันก็ชัดเจน
“นี่มันปัญหาระดับชาติเลยเหรอวะเนี่ย” ผมคิดในใจ กล้องก็เลยเก็บลงไว้ในกระเป๋าแล้วลุยต่อไป
ความหรูหรา จะแปรผันตรงกับ ระยะห่างจากทำเนียบของประธานาธิบดี
ยิ่งเข้าใกล้มากเท่าไร ความหรูหราอลังการยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
หินอ่อนจากประเทศไหนต่อไหนถูกขนเข้ามาเติมเต็มความยิ่งใหญ่
ความเงาวับของพื้นนี่ไม่อยากจะบอก เขาจ้างคนมายืนเฝ้า ยืนถู ยืนเช็ดกันทุกวัน
แบบว่าเอาหน้าไปส่องดูรูขุมขนแทนกระจกได้เลยละครับ
อาคารรูปทรงที่ไม่สามารถระบุชนิดสถาปัตยกรรมได้ชัดเจน
ต่างมากระจุกรวมกันในพื้นที่ไม่กี่สิบตารางกิโลเมตรนี้
อนุสาวรีย์ของเลนิน จะพบได้ทั่วไปในเอเชียกลาง
เนื่องจากเป็นเขตอิทธิพลเก่าของโซเวียตนั่นเองครับ
ผมเดินมาถึงสวนสาธารณะขนาดใหญ่
ที่แทบจะปราศจากผู้คน มีเพียงแต่สายลมและตัวผมเท่านั้นเอง
ด้านนี้ยังพอจะมีคนอยู่บ้าง
น้ำพุเต้นระบำที่เต้นไปมายังไม่มีวันจบ
แสดงถึงความงดงามของผู้นำที่ต้องการเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้
สวนนี้ขึ้นชื่อว่าสาธารณะก็จริง
แต่คนที่มาใช้บริการนอกจากผมแล้ว ก็มีแต่คนทำความสะอาดเท่านั้นเอง
ผมไม่รู้จริงๆว่า คนท้องถิ่นที่นี่เขาไปอยู่ที่ไหนกันหมด
ไม่มีคนมาเต้นแอโรบิค วิ่งจ๊อกกิ้ง ปั่นเรือเป็ด หรือทำอะไรทั้งสิ้น
นี่สวนนี้สร้างขึ้นมาเพื่ออะไรกันแน่นะ
สวนสาธารณะก็ทำเสร็จแล้ว ทางเดินก็ทำเสร็จแล้ว
ผมยืนดู ผมก็เห็นว่าทุกๆมันก็ทำเสร็จหมดแล้ว
แล้วเขาจะเอาพลาสติกมาหุ้มเก้าอี้ไว้ทำไม กลัวนั่งแล้วเลอะเหรอ
แต่ก็เป็นไปได้นะครับเพราะเมืองนี้มันสะอาดมากจริงๆ
ทางเดินสู่ทำเนียบประธานาธิบดี
ตอนนี้กล้องถ่ายรูปของพวกผมมันถูกซุกเอาไว้ในเสื้อหนาวตัวใหญ่
ที่มีเพียงช่องมองลอดกล้องออกมาพอดีกับรูป
ผมแทบไม่ได้เล็งเลยว่ารูปมันชัด มันเบลอ มันเบี้ยว หรือมันจะเพี้ยนขนาดไหน
ขอเพียงให้กดยิงชัตเตอร์ให้รูปมาก่อน แล้วเราค่อยมาเลือกทีหลัง
นี่เป็นเขตแดนสุดท้ายที่คนธรรมดาจะเดินเข้าไปได้
อีกเพียงแค่หนึ่งก้าวจากตรงนี้ ขอเพียงแค่ขาเราก้าวข้ามไป
“ปรี๊ดดดดดดด” จะดังขึ้นมาทันที จากบรรดาตำรวจและนายทหารที่อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา
ผมจึงเดินลัดเลาะไปอีกด้านหนึ่งแทน มุมนี้ชัดเจนกว่ามาก
อาคารสีขาว มีโดมสีทอง พื้นที่โล่งเป็นลานกว้างขนาดใหญ่ ตรงศูนย์กลางการปกครองของประเทศ
ณ จุดที่ผมยืนอยู่ นับตำรวจที่ยืนวนรอบได้หลายสิบนาย ทั้งที่แบบยืนแช่คอยตรวจจับความเคลื่อนไหว
และแบบที่เคลื่อนไหวไปมาเพื่อคอยดูพฤติกรรมของคนที่กำลังทำอะไรที่ผิดสังเกต
ตอนนี้กล้องใหญ่ไม่สามารถใช้ได้แล้ว กล้องมือถือถูกนำขึ้นมาแทนที่
มันถูกหยิบขึ้นมาและก็อย่างรวดเร็วแบบ multishot เพื่อสร้างโอกาสเก็บภาพมาให้มากที่สุด
ตอนนี้ผมกลายเป็นโรคกลัวเสียงนกหวีดไปแล้ว หลังจากโดนเตือนทางเสียงมาหลายรอบ
จึงเดินออกจากเขตศูนย์กลางแห่งอำนาจ
จำนวนปริมาณของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยลดลงอย่างชัดเจน
ในทางตรงกันข้ามจำนวนของประชาชนที่เดินผ่านไปมาเริ่มเห็นได้มากขึ้น
แต่ก็น้อยมากๆอยู่ดีๆ ทุกๆ 100 เมตรที่เดินผ่าน เจอคนสัก 1 คนได้เองมั๊งครับ
ผมจึงเริ่มสงสัยว่าเมืองนี้มันสร้างให้คนอยู่จริงๆเหรอ อย่างกับเมืองร้างจริงๆ
ตรงนี้คือไฮไลท์ของประเทศนี้เลยก็ว่าได้ครับ
อนุสาวรีย์ตรงกลาง คือ อนุสาวรีย์ทองคำของประธานาธิบดีคนก่อน “Saparmurat Niyazov”
โดยเจ้าอนุสาวรีย์อันแสนประหลาดนี้สามารถหมุนได้ 360 องศา เพื่อจะหันยังทิศทางของแสงอาทิตย์เสมอ
โดยผลงานของสุดยอดประธานาธิบดีคนนี้ก็เช่น
- ออกกฎหมายให้ทุกคนต้องเรียกตนเองว่า “Turkmenabashi” หรือแปลว่าบิดาของชาวเติร์กเมนทั้งมวล
- รวมอำนาจเข้าศูนย์กลางทั้งหมด สถาปนาตำแหน่งประธานาธิบดีตลอดชีวิต
- เป็นผู้แต่งหนังสือ “Ruhnama” ที่เป็นการผสมผสานของศาสตร์หลายด้าน รวมทั้งความดีของท่านผู้นำ และบังคับให้นักเรียนเรียนในทุกระดับชั้น รวมทั้งบริษัทบางแห่งต้องใช้ตำรานี้ในการสมัครงาน
- เป็นผู้เปลี่ยนชื่อเมือง “Krasnovodsk” เป็น “Türkmenbaşy” ตามชื่อของตนเอง
- เป็นผู้เปลี่ยนชื่อเดือน “January” เป็น “Türkmenbaşy” ตามชื่อของตนเอง
- เป็นผู้เปลี่ยนชื่อเดือน “April” เป็น “Gurbansoltan” ตามชื่อมารดาของเขา
- เปลี่ยนชื่อคำเรียก “Bread” เป็น “Gurbansoltan” ตามชื่อมารดาของเขา
- สื่อสารมวลชนทุกชนิดกลายเป็นสิ่งต้องห้าม และการพูดเรื่องการเมืองในที่สาธารณะกลายเป็นสิ่งที่อันตรายต่อสวัสดิภาพเป็นอย่างมาก
- ปิดบริการโรงพยาบาลในเขตชุมชนไปอย่างมากมาย ส่งผลให้ระบบสาธารณสุขสำหรับประชาชนอยู่ในขั้นเลวร้าย
แต่ปัจจุบันนี้ท่าน Niyazov ได้ถึงแก่อสัญกรรมไปอย่างกระทันในเดือนธันวาคม 2006 ด้วยอาการหัวใจวาย
และตำแหน่งนั้นได้ถูกแทนที่นี่ด้วย Gurbanguly Berdimuhamedow ที่เห็นในรูปนั่นเองครับ
ที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอย่างถล่มทลายจากประชาชนชาวเติร์กเมน
และกฎหมาย ความเข้มงวดต่างๆก็ถูกผ่อนคลายลง แต่ประเด็นเรื่องการเมืองก็ยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเหมือนเดิม
อาคารแท่งๆพวกนี้คือคอนโดมิเนียมหมดเลยครับ เขาสร้างมาแทบจะรูปทรงแบบเดียวกันเป็นชุดๆ
เขาว่ากันว่าประเทศที่มีสิทธิและเสรีภาพมากที่สุดในโลก
นอกจากเกาหลีเหนือแล้วก็มีเติร์กเมนิสถาน
หรือคนบางคนอาจจะเรียกที่นี่ว่ามันคือ เกาหลีเหนือเวอร์ชั่นที่มีทรัพยากรธรรมชาติครับ
ผมหันกลับไปมองที่หมู่มวลมหาราชวังการปกครองศูนย์กลางของประเทศอีกครั้ง
ฝนกำลังตกปรอยๆ ทำให้อุณหภูมิกำลังเย็นสบาย
แต่บรรยากาศมันก็ยิ่งหงอยยิ่งกว่าเดิม
ผมไม่รู้ว่าคนที่นี่เขาจะรู้ไหมว่าโลกภายนอกเป็นอย่างไร
แค่เส้นแบ่งเขตแดนที่ถูกกลุ่มคนกลุ่มหนึ่งลากมันขึ้นมา จะทำให้ประชาชนระหว่าง 2 ฝั่งประเทศจะแตกต่างกันได้ขนาดนี้
เวลาผ่านไปทุกนาที ตอนนี้เย็นซะแล้ว
ทุกๆตารางเมตรที่ผ่านไป จะมีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ๆให้เห็นได้ตลอด
อีกไม่กี่สิบปีข้างหน้านี้เมืองอาชกาบัตจะต้องเปลี่ยนโฉมหน้าไปอีกมากแน่นอน
ผมยังรู้สึกว่าใช้เวลาในเมืองนี้ได้ไม่คุ้ม มันยังมีความประหลาดแต่น่าสนใจอีกมาก
แต่ด้วยข้อจำกัดของ Visa ที่สุดแสนจะรันทด (ลำบากยังไง ค่อยเล่าอีกทีนะครับ)
ทำให้ผมมีเวลาในเมืองนี้เพียงแค่วันเดียวเท่านั้น วันรุ่งขึ้นก็ต้องไปเมืองต่อไปแล้ว
อาหารเย็นในวันนี้ ผมหมดความพยายามในการหา local food หรือ street food แล้วเพราะมันหาไม่ได้
เลยไปจบกันที่ห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดของเมือง (ราวๆเดือนมอลล์รามคำแหง)
พร้อมกับจบชีวิตไปกับ fast food แสนแพง ที่หมดตังค์ไปแล้วเกือบ 300 บาทต่อคน (แต่ยังไม่อิ่มเลย)
ผมเดินกลับมาที่พัก เดินไปยังหน้าต่างริมระเบียง
แล้วผมก็พบว่าพื้นที่ๆสามารถ่ายรูปได้อย่างสบายใจที่สุด
มันอยู่ ณ ตรงนี้นี่เอง
ไม่มียาม ไม่มีตำรวจ ไม่มีทหาร และไม่มีเสียงนกหวีดใดๆทั้งสิ้น
ผมจึงใช้เวลาค่ำคืนที่เหลือ ไปกับการนั่งมองแสงไฟจากเมืองหลวงกลางทะเลทรายแห่งนี้
ภายใต้เมืองหลวงที่
แต่ปากท้องประชาชนส่วนใหญ่ก็ยั
ประชาชนส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาวะถูกกด
การเลือกตั้งเป็นเพียงแค่เครื่องมือของนักการเมือง
ถ้าลองได้มาพูดคุยกับคนเติร์กเมนิสถานสักคน เราจะได้เข้าใจเขาจริงๆ
ว่ามันเป็นเพราะอะไรกันแน่