ประสบการณ์ที่ลืมไม่ลงครั้งสุดท้ายของคุณคือเมื่อไร
ในโรงเรียน ในมหาวิทยาลัย หรือในโลกแห่งการทำงาน???
หรือว่ามันนานมากจนจำไม่ได้แล้วว่ามันนานแค่ไหนแล้ว
แต่ผมแน่ใจว่าทุกๆคนต้องเคยมีความทรงจำเหล่านี้อยู่อย่างแน่นอน
ในโลกนี้มีสถานที่นับล้านๆแห่ง ถ้าให้เลือกได้ว่าให้ไปมีความทรงจำในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง
ที่มันจะมีครบทุกรสชาติ ทั้ง หวาน เค็ม เผ็ด มันส์ หรือเปรี้ยว
เราจะเลือกพาร่างกายและจิตใจของเราไปที่ไหนกันดี
ถ้าตอนนี้ยังคิดไม่ออก
ลองมาดูพวกเรา หมอสองคน ที่ครั้งนี้หลงทางมาไกล มาอยู่ในดินแดนที่โคตรจะไกลสุดหล้าฟ้าเหลือง
มาเดินเล่นอยู่บนหลังคาโลกอีกแห่งหนึ่งที่นอกเหนือจากทิเบตที่หลายๆคนรู้จัก
แพะภูเขา คนอัฟกัน พายุหิมะ ตำรวจใจร้าย และอะไรต่อมิอะไรอีกนับไม่ถ้วน
มาเจอประสบการณ์หลายๆอย่างที่มันโคตรจะน่าเหลือเชื่อและไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้จริง
และนั่นก็คือจุดเริ่มต้นของเรื่องราวการเดินทางบนทางหลวงสายปามีร์
ที่นี่คือหนึ่งในดินแดนที่ผมแทบจะเชื่อเลยว่า
คนไทยรู้จักกันน้อยมาก มันคือดินแดนรอยต่อของเทือกเขาหิมาลัยและคาราโครัมที่ยิ่งใหญ่
หนังสือบางเล่มก็ยกให้พื้นที่ตรงบริเวณเป็นอีกหนึ่งส่วนของหลังคาโลกด้วยเช่นกัน
เป็นหนึ่งในสถานที่ๆควรมาก่อนตายจากทุกๆสำนักโพล
ถึงแม้เขาจะบอกกันว่าถนนเส้นนี้เป็นหนึ่งในเส้นทางที่อันตรายที่สุดของโลกก็ตามที
วันที่ 1 : จุดเริ่มต้นคือก้าวที่ศูนย์
จุดเริ่มต้นอยู่ที่เมืองหลวงดูซานเบ (Dushanbe)
บรรยากาศในเมืองหลวงมันก็เหมือนเมืองทั่วๆไป ไม่มีอะไรน่าแปลกใจมาก
แต่ทันทีที่รถวิ่งออกจากเขตเมืองมาเขตบ้านนอก
พระเจ้า ทุกอย่างมันแทบจะกลับตารปัตร
บรรยากาศข้างทางมันก็เหมือนกับมีแรงดึงดูดพิเศษที่ทำให้หนังตาเราถ่างขึ้นโดยไม่รู้ตัว
วิวระหว่างทางที่ไม่เคยซ้ำกัน
ไกด์บุ๊คทุกเล่มที่มีตัวตนอยู่บนโลกใบนี้
บอกพวกเราว่า ถนนเส้นนี้เป็นหนึ่งในถนนที่ต้องมาก่อนที่เราจะตาย
7 วันที่ผมใช้ชีวิตอยู่บนถนนสายนี้
บอกได้เลยว่า ไม่เคยมีวันใดที่มีภูมิประเทศซ้ำกันเลยซักวันเดียว
แต่ผมก็ไม่ได้บอกให้คุณเชื่อโดยที่ไม่ได้รับการพิสูจน์อยู่ดีครับ
ทะเลสาบ ทะเลทราย
พายุทราย พายุหิมะ
ภูเขาหิมะ ภูเขาหินปูน
บรรยากาศข้างทางพร้อมที่จะสร้างความตื่นตะลึงให้แก่ผู้มาเยือน
พร้อมจะพิสูจน์กันเหรอยัง
ถ้าพร้อมแล้วก็เก็บกระเป๋าขึ้นรถกันเลยครับ
โค้งนี้โคตรมีความหมายในชีวิตของการเดินทางในวินาทีนั้นอย่างมาก
เพราะอะไรเหรอ
…
เพราะมันคือโค้งแรกที่ทำให้ผมเห็นประเทศ “อัฟกานิสถาน” แบบเต็มๆตาเป็นครั้งแรกในชีวิต
และนั่นเป็นเหตุผลที่ทรงพลังที่สุดในการดูดผมออกจากเตียงอันแสนสบายในประเทศไทย
ให้มาตกระกำลำบากอยู่แถวๆนี้
ภูเขาที่เห็นในภาพตรงนั้น คือประเทศอัฟกานิสถาน
แม่น้ำที่เห็นตรงกลางภาพคือแม่น้ำปามีร์อันเป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศ
สะพานข้ามแม่น้ำคือสะพานมิตรภาพเชื่อมคนสองฝั่งแม่น้ำเข้าด้วยกันครับ
อัฟกานิสถานในหัวของผมตอนแรกนั้น
มันไม่ใช่แบบนี้
มันดูสงบไปเหรอป่าว????
ถนนตอนแรกจะวิ่งบนเขตที่ราบสูงก่อน พอมาถึงเขตเทือกเขาปามีร์
ถนนมันจะค่อยวกไปวนมา ไต่ระดับลงมาที่ช่องเขา อันเป็นพรหมแดนระหว่างประเทศ
และถนนช่วงนี้แหละครับที่มันสวย เพราะมันทั้งโค้ง ทั้งเสียว
จนอะดรีนาลีนมันหลั่งจนเกือบหมด
วันที่หนึ่งคือวันที่ออกแบบมาให้เราเพื่อปรับตัว ปรับสภาพ เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
เราจะได้นั่งรถดูวิวบรรยากาศแบบทึมๆ ภายใต้ช่องเขาแห่งนี้ไปตลอดทาง
จุดแวะพักสำหรับวันแรก
คือหมู่บ้านที่มีชื่อว่า Kalai Khumb
ขนาดหมู่บ้านก็น่าจะราวๆ ตำบล ของประเทศไทยครับ
การเดินทางบนนถนนสายปามีร์
เราต้องวางแผนที่กิน ที่นอน ที่ขี้ ที่ฉี่ให้เรียบร้อย
เพราะน้ำประปา และไฟฟ้า ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานสำหรับที่นี่
และสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวจะมีตั้งอยู่เป็นบางหมู่บ้านเท่านั้นเอง
อย่าถามหาถึงโรงแรม เพราะมันไม่มี
อย่าถามหาถึงเกสต์เฮาส์ เพราะมันก็ไม่มีเช่นเดียวกัน
มีแต่โฮมสเตย์ชาวบ้านเท่านั้น
ถึงเราจะไปหรือไม่ไป ชาวบ้านเขาก็อยู่กันแบบนี้แหละ
คืนละ 300 บาท ต่อคน ต่อคืน รวมอาหารเย็น ที่เป็นซุปกับขนมปังแบบบ้านๆ
เด็กชาวทาจิก
หน้าตาออกไปทางแขก นับถือศาสนาอิสลาม
แต่กลับพูดภาษารัสเซียได้คล่องเกือบทุกคน รวมทั้งภาษาทาจิกที่เป็นภาษาประจำชาติ
ซึ่งจะแตกต่างจากเด็กคีร์กิซหรือคาซัคที่หน้าออกจะค่อนไปทางจีนๆผสมรัสเซียซะมากกว่า
วันที่ 2 : สองอารมณ์บนสองความแตกต่างบนสองฝั่งแม่น้ำ
ถ้าวันแรกมันคือการผจญภัยบนทุ่งหญ้า
วันที่สองนี่ก็คือการผจญภัยในช่องเขา
เขาที่ว่าก็ไม่ใช่ใครที่ไหน
แต่เป็นเทือกเขาปามีร์กับฮินดูกูซ
สิ่งใดที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา
สิ่งนั้นย่อมสวยที่สุดเสมอ
คนที่อยู่แถวนี้ เขาคงไม่จำเป็นต้องเก็บเงินเพื่อไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ
ในเมื่อสิ่งที่อยู่หน้าบ้านเขามันสวยจนคนจากต่างประเทศต้องจ่ายเงินมาถึงที่นี่ทั้งนั้น
ถนนต่อจากนี้ไป จะเป็นสายฮาร์ดคอร์ล้วนๆ
พื้นถนนเสมือนดุจดั่งคลื่นทะเลพายุดีเปรสชั่น
เด้งสะเทือนไปมาจนตับด้านขวาแทบจะมาสลับที่กับลำไส้ด้านซ้าย
อย่าถามหาไหล่ทางเพราะมันไม่มี
แล้วถ้าตกลงไปข้างทางทำอย่างไร
ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายระหว่างทาง
ซากรถที่หัวทิ่มปักอยู่ที่พื้นเป็นเครื่องเตือนสติ เตือนใจ ได้เป็นอย่างดี
เมื่อเดินทางมาถึงช่วงนี้ จะมีหมู่บ้านของชาวอัฟกันโผล่ขึ้นมามากมายครับ
“อัฟกานิสถาน” เป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำไมผมถึงอยากมาที่นี่
ด้วยความที่จุดที่ผมยืนอยู่กับฝั่งประเทศอัฟกานิสถานมันใกล้จนแทบจะเอื้อมมือไปจับมือกันได้อยู่แล้ว
แต่ไม่สามารถพาตัวเองข้ามไปได้
เราก็เลยนั่งมองคนอัฟกันว่าเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร
ข่าวลบๆ ข่าวร้ายๆ ที่เห็นๆกันในทีวี มันอยู่ตรงไหน มันจริงแค่ไหน ไปเห็นด้วยตาตนเองกันดีกว่า
แต่แบบว่า ต้องร้องว่า เห้ยยยย
นี่ตรูมายืนถูกทิศแน่นะ ข้างหน้านี่มันอัฟกานิสถานจริงๆเหรอ
ไอต้นสีออกชมพูนั่นมาซากุระหรือพญาเสือโคร่งกันแน่
แล้วไหนละปืน ไหนละสงคราม
เบื้องหน้าที่ผมเห็นมีแต่ความเงียบสงบ
บ้านทุกหลังทำขึ้นจากดินแล้วก็ไปทาสี บางหลังขี้เกียจทาก็ปล่อยให้เป็นเอิร์ทโทนไป
แถมมีสนามหญ้าหน้าบ้านให้ลูกวิ่งเล่นอีกอีก
ผมคนไทยทำงานแทบตายยังไม่ได้บ้านมีบริเวณ ที่ด้านหน้ามีแม่น้ำ ด้านหลังมีภูเขาหิมะแบบนี้เลยครับ
ผมคงไปตอบแทนไม่ได้ว่าอยู่แบบนี้มีความสุขดีเหรอเปล่า
หน้าบ้านมีสนามหญ้าแบบนี้
ไปรวมทีมมาให้ครบ ก็พร้อมจะเตะฟุตบอลกันแล้วครับ
ทำไร่ ทำนา ทำปศุสัตว์ ว่ากันไปตามเรื่อง
ถ้าพูดถึงสภาพอากาศที่เมืองไทย ผมว่าบ้านเราชิดซ้ายไปเลยครับ
ที่นี้แร้นแค้นกว่าหลายเท่านัก
วิถีชีวิตทุกอย่างขึ้นกับสิ่งที่ธรรมชาติจะส่งลงมาให้ ไม่มีชลประทานหรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดๆในการดำเนินชีวิตเลยแม้แต่อย่างเดียว
การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติเป็นสิ่งปกติของที่นี่
ภาพที่ชาวอัฟกันกำลังเดินถือของอยู่บนทางเดินริมเขาเป็นอะไรที่คุ้นตาอย่างมาก
แต่จริงๆแล้วถ้ามาดูกันตามข้อมูลนี้
ประเทศทาจิกิสถาน นี่ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่รายได้น้อยมาก
แต่พอมาเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างอัฟกานิสถานแล้ว กลับดูเหมือนกลายเป็นประเทศเจริญแล้วไปเลย
เวลาคนเราจะทำอะไรเราต้องหาแรงบันดาลใจของเราให้เจอ
และการใช้ชีวิตบนถนนสายนี้ผมคิดว่ามันน่าจะให้อะไรกับคนที่มาถึงไม่มากก็น้อย
ถามว่าสบายไหม ถ้าจะมาเที่ยวที่ถนนสายนี้
ถ้าร่างกายแข็งแรง ทนทาน ทนต่อความลำบากได้เป็นอย่างดี
มาเลยครับ สิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ยังไม่ถูกบันทึกรอคุณอยู่ที่นี่
มีถนนเพียงไม่กี่เส้น ไม่กี่สายในโลกใบนี้
ที่จะสามารถเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวคุณได้
และปามีร์ไฮเวย์เป็นหนึ่งในนั้น
เส้นทางสายปามีร์จริงๆแล้ว ก่อนที่มันจะกลายร่างมาเป็นถนนให้รถวิ่ง
มันเป็นทางคนเดินมาก่อน เราแค่มาสร้างถนนทับทางเท้าเดิมแค่นั้น
มาร์โค โปโล ก็เดินทางมาถึงที่นี่เช่นกัน ในช่วงที่เขาเดินทางผ่านเอเชียกลางเพื่อเข้าสู่ประเทศจีน
ของฝั่งทาจิกิสถานกลายเป็นถนนไปแล้ว แต่ขอฝั่งอัฟกานิสถานยังคงสภาพไว้เหมือนเดิม
มันน่าเหลือเชื่อตรงที่ว่า
ในเมื่อคนสมัยโบราณที่เดินอย่างยากลำบากเขายังทำได้
แต่เราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยพลังงานน้ำมันกลับบอกว่าลำบาก
ระยะห่างระหว่างสองประเทศนี้มันใกล้มากจริงๆครับ
คลองหน้าบ้านผมยังดูกว้างกว่านี้เลย
จะข้ามไปมาคงไม่มีใครว่าถ้าไม่มีคนเห็น
ผมคิดอย่างนั้นนะ
“อัฟกานิสถาน”
กับเรื่องที่ผมไม่เคยรู้
ถึงแม้ประเทศอัฟกานิสถานจะดูอันตรายและแสนจะวุ่นวายในสายตาชาวโลก
แต่รู้ไหมครับว่ามีดินแดนแห่งหนึ่งในประเทศนี้ที่แทบ “ไม่เคย” ได้รับผลกระทบของการปกครองในยุคของตาลีบัน หรือยุคหลังตาลีบันเลย
อัฟกานิสถาน จริงๆแล้วไม่ได้วุ่นวาย ฝุ่นตลบกันทั้งประเทศอย่างที่เราเข้าใจกัน
เวลาเราเห็นจากภาพข่าว เหตุการณ์ที่เกิดมักเกิดที่ตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ
แต่มีอยู่ส่วนหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถานที่ยื่นออกไปจูบปากกับประเทศจีน
แบ่งเอเชียกลางและเอเชียใต้ออกจากกัน เรียกว่า “Wakhan corridor” หรือหุบเขาวาคันด์
ที่สงบสุข ไม่วุ่นวาย และปราศจากความตึงเครียด
แบบว่าต่อให้เมืองอื่นจะถล่มกันเล๊ะตุ้มเป๊ะขนาดไหน ที่นี่ก็ยังคงชิวๆกันต่อไป
ถามว่าทำไมถึงไม่ได้รับผลกระทบ ???
คำตอบคือ แผ่นดินตรงนี้เป็นภูเขาสูงมากยากต่อการเดินทาง ถนนที่มีสำหรับคนไทยอาจจะไม่เรียกถนนก็ได้ แม้กระทั่งคนท้องถิ่นยังต้องเดินเท้า ขี่ลา ขี่ม้า ขี่จามรีกันอยู่เลยครับ แล้วใครมันจะพาทหารมาถึงที่นี่
เพื่อนร่วมทางที่ต้องร่วมทาง
ตอนบ้านพักตอนเช้าที่ Kalai Khumb
คนขับรถผมเดินเข้ามาบอกผมด้วยสีหน้าที่เหมือนกับคนท้องผูกมาหลายวัน
“วันนี้จะขอมีทหารติดรถไปยังเมือง Khorugh ที่เป็นจุดหมายของผม
ไม่มีคำว่าปฏิเสธ เพราะยังไม่ทันที่ผมจะปฏิเสธ หัวหน้าหน่วยทหารคนนั้น
ก็มาเปิดประตูเพื่อจะให้พลทหารคนนั้นขึ้นรถไปคันเดียวกับผมแล้ว
มีทหารมาอยู่เป็นเพื่อนตลอดทาง ฟินสุดๆ แต่คิดในแง่ดี พวกด่านตรวจต่างๆคงเลิกสนใจผมไปเยอะ
คนที่ไม่เคยเห็นทะเล
ผมถามคนหลายๆคนที่นี่ที่เขาพูดภาษาอังกฤษได้ ว่า “คุณเคยเห็นทะเลไหม???”
คำตอบที่ได้มากกว่า 99% คือ ไม่เคยเห็น และบางคนไม่รู้จักด้วยซ้ำว่าทะเลคืออะไร
เขารู้จักแต่พายุหิมะ พายุทราย และน้ำหลากเท่านั้นเอง
ยิ่งพอโชว์รูปทะเลสีน้ำเงินบวกกับท้องฟ้าสีครามที่อยู่ในมือถือของผมให้เขาดู
เขาแทบช็อคด้วยความที่ไม่เชื่อว่ามีสถานที่แบบนี้อยู่ในโลกของเขาด้วยเหรอ
มาแถวนี้ ต้องกลัวตาลีบัน เหรอไม่
ปรอทวัดความกลัวของแต่ละคนไม่เท่ากัน
การมีความเสี่ยงเล็กน้อย ในความคิดของคนบางคนมันคือความคุ้มค่าที่จะได้มา
ในขณะที่อีกคนอาจไม่คิดเช่นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราคิดอย่างไร
คล้ายๆกับเรากำลังทำตัวเป็นของเหลว
เลือกเอาว่าจะเป็นของเหลวชนิดไหน
ใครเลือกเป็นปรอทก็จุดอดทน ความถึกสูงกว่าใครเพื่อน
ช่วงเวลากว่า 8 ชั่วโมง กับระยะทางไม่เกือบๆ 200 กิโลเมตร
ที่มีแค่ 2 โค้งคือ
โค้งซ้าย กับ โค้งขวา
ที่ไม่ใช่พาตาโกเนีย ไม่ใช่ทิเบต ไม่ใช่เนปาล
แต่มันคือ ทาจิกิสถาน
หลังจากเด้งกันจนได้ที่ยังกับมาริโอ้เก็บเห็ด
ในที่สุดเราก็มาถึงเมือง Khorog
ประเทศทาจิกิสถาน แบ่งการปกครองออกเป็น 2 ส่วน
- ส่วนหลักก็คือพื้นที่ทั้งหมดที่อยู่นอกเหนือเขตปามีร์ เมืองหลวง Dushanbe เมืองเศรษฐกิจ Khujand ผู้คนส่วนใหญ่ก็อยู่ตรงนั้นกัน
- อีกส่วนเป็นเขตปกครองตนเอง เรียกว่า Gorno-Badakshan ซึ่งมีเขตปกครองย่อยๆอยู่อีก แต่มีเมืองหลักเมืองเดียวคือเมือง Khorog แห่งนี้
แถวนี้เกือบจะเรียกได้ว่าปราศจากโรงงานอุตสาหกรรม
น้ำแทบทุกหยดที่ไหลผ่านมาจากธารน้ำแข็งบนภูเขาทั้งสิ้น
Khorog เป็นเพียงเมืองเดียวในเขตปามีร์
ที่มีสถานที่ราชการ สถานศึกษา ธนาคาร และร้านรับแลกเงิน
หลังจากนี้ไป ถ้าจะเดินทางไกล ต้องเตรียมตัวให้พร้อม คนท้องถิ่นบอกผมมาแบบนั้น
พราะนอกเหนือจากเมืองนี้ไปแล้ว
จะมีเพียงแค่หมู้บ้านที่ “ไม่มีน้ำประปาใช้ 100%” และไฟฟ้าที่มีก็ “ติดๆดับๆอยู่เสมอ”
เพราะฉะนั้นจะตุนอะไรก็ตุนครับ แม้แต่เงินที่ต้องเตรียมมาให้พร้อม ไม่มี ATM อีกแล้ว หลังจากนี้
ผมจึงใช้เวลาในคืนที่สองพักผ่อนอยู่ที่เมืองแห่งนี้
ออกจาก Khorugh มา
ทางจะแยกออกเป็น 2 ส่วน
- ทางหลวงสายดั้งเดิม อันนี้จะวิ่งผ่าเข้าใจกลางเทือกเขาปามีร์ แล้วเข้าสู่เขตหลังเขา ระยะทางสั้นกว่า อันนี้คือแบบ original
- ทางสายอ้อม วิ่งเลาะตามโตรกเขาเลียบแม่น้ำปามีร์ขนานไปกับพรมแดนอัฟกานิสถานก่อนจะไปบรรจบกับทางสายหลัก แต่อ้อมและสภาพถนนย่ำแย่กว่ามาก แต่สิ่งที่ได้ย่อมคุ้มค่าตามสิ่งที่ลงทุนเสมอ
และก็แน่นอน เราเลือกอย่างหลัง
วันที่ 3 : จับมือ ทักทาย ถ่ายรูป กับคนจากอัฟกานิสถาน
บางเวลา เราอยู่ในที่ๆสบายเกินไปจนคิดว่าตัวเองลำบาก
แต่จริงๆยังมีคนอีกมากมายบนโลกใบนี้ที่มีชีวิตลำบากกว่าเราแน่นอนครับ
คนฝั่งอัฟกานิสถานเขาเดินกันแบบนี้ทั้งนั้น
ในเมื่อไม่มีถนนให้รถวิ่ง การเดินทางด้วยสองเท้าจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
Afghan 1st time.
ที่ประเทศทาจิกิสถาน ตรงบริเวณพรมแดนรอยต่อกับประเทศอัฟกานิสถาน
จะมีหมู่บ้านเล็กๆอยู่แห่งหนึ่งที่มีชื่อเรียกว่า “Iskhashim” ซึ่งทุกๆวันเสาร์
ทางทหารของทั้งสองประเทศจะอนุญาตให้คนทาจิกและอัฟกันข้ามมายังเกาะที่อยู่ตรงกลางแม่น้ำที่เป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศนี้ให้ทำการค้าขายกันได้
โดยที่ไม่ต้องทำวีซ่าใดๆ และแถมยังใจดีเหลือล้นเผยแพร่ส่วนบุญอันนี้มายังนักท่องเที่ยวอย่างผมอีกด้วย
เราเลยได้ไปเดินจับจ่ายใช้สอยในตลาดของคนอัฟกานิสถานไปแบบไม่ทันได้ตั้งตัว
และโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ยังได้สิทธิพิเศษข้ามพรมแดนไปโดยที่ไม่ต้องใช้วีซ่าประเทศอัฟกานิสถานอีกด้วย
ที่เห็นนั่นเป็นจุดผ่านแดนถาวร เห็นธงชาติอัฟกานิสถานสีดำแดงเขียวนั่นป่าวครับ
กลุ่มคนที่เห็นยืนออกันตรงอาคารก็คือกลุ่มพ่อค้าที่กำลังจะทำเรื่องผ่านแดนมาค้าขายกันที่ตลาดสองแผ่นดินแห่งนี้
ก่อนจะข้ามสะพานจากฝั่งทาจิกิสถานไปยังดินแดนเกาะกลางแม่น้ำหรือ No man land
จะต้องผ่านการตรวจจากทหารที่ยืนถือปืนสร้างความหวาดเสียวเล็กน้อย
พร้อมกับเราต้องมอบพาสปอร์ตตัวจริงเป็นหลักประกันให้แก่เขาเพื่อเป็นการยืนยันว่าเราจะไม่ไปโรบินฮู๊ดกันที่อัฟกานิสถาน (เป็นคนดีจริงๆ ห่วงนักท่องเที่ยวขนาดนี้)
จริงๆแล้วการมอบหนังสือเดินทางตัวจริงให้คนอื่นเก็บถือว่าผิดหลักการเดินทางมากเลยนะครับ ยิ่งประเทศแบบนี้เกิดทหารทำเล่นเอาของเราไปซ่อนหรือแกล้งทำเป็นลืมขึ้นมา บอกได้คำเดียวว่างานเข้า
นี่เป็นโอกาสเดียวที่ผมจะได้พูดคุยกับคนอัฟกัน
คนอัฟกันที่นี่อัธยาศัยดีมากตามแบบฉบับของเขา
และก็เป็นธรรมดาที่ภาษาที่เขาพูดได้ก็คือภาษาที่ผมไม่เข้าใจ
และภาษาที่ผมเข้าใจเขาก็ไม่รู้ เราก็เลยคุยกันแบบไม่รู้เรื่อง 99.99% เหมือนที่ผ่านๆมา
แต่ถึงยังงั้นก็เถอะครับ หน้าตาอย่างพวกเราคือของแปลกของคนที่นี่มาก
พวกเขามักจะไล่เดาสัญชาติของผม จาก ญี่ปุ่น เกาหลี และจบที่จีนทุกครั้งไป
แต่พอเราบอกคนไทยเท่านั้นแหละ ทำหน้างงกันไปเลยทีเดียวครับ
อีกอย่างคนที่นี่ก็ชอบถ่ายรูปเหมือนคนตามเอเชียกลางทั่วไปครับ บางคนหน้าตาแม้จะดูโหดเหี้ยมแต่ที่ไหนได้อัธยาศัยกลับดีเหลือเชื่อซะอีก
สังเกตจากหมวกที่ใส่ครับ แบบนี้เขาเรียกว่าหมวกของอัฟกันมันจะกลมๆแบบนี้ เห็นใครใส่หมวกนี้อยู่บนหัว ไปลุยได้เลยครับ
คนอัฟกันที่นี่อัธยาศัยดีมากตามแบบฉบับของเขา
และก็เป็นธรรมดาที่ภาษาที่เขาพูดได้ก็คือภาษาที่ผมไม่เข้าใจ
และภาษาที่ผมเข้าใจเขาก็ไม่รู้ เราก็เลยคุยกันแบบไม่รู้เรื่อง 99.99% เหมือนที่ผ่านๆมา
แต่ถึงยังงั้นก็เถอะครับ หน้าตาอย่างพวกเราคือของแปลกของคนที่นี่มาก
พวกเขามักจะไล่เดาสัญชาติของผม จาก ญี่ปุ่น เกาหลี และจบที่จีนทุกครั้งไป
แต่พอเราบอกคนไทยเท่านั้นแหละ ทำหน้างงกันไปเลยทีเดียวครับ
อีกอย่างคนที่นี่ก็ชอบถ่ายรูปเหมือนคนตามเอเชียกลางทั่วไปครับ บางคนหน้าตาแม้จะดูโหดเหี้ยมแต่ที่ไหนได้อัธยาศัยกลับดีเหลือเชื่อซะอีก
ตลาดนัดที่นี่แม้จะเล็กมาก มีศาลากันลมกันฝนตรงกลางลานที่ชาติยุโรปมาสร้างให้
แต่ลานรอบนอกคือบรรยากาศแห่งบาซาร์ขนานแท้
ของที่ขายส่วนใหญ่ เห็นแล้วเหลือเชื่อ
ของส่วนที่คนทาจิกเอามาขาย คือของที่นำเข้าจากรัสเซีย คาซัคสถาน หรือจีนเป็นหลัก มีตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ
ส่วนของที่คนอัฟกันเอามาขาย เกือบทั้งหมดนำมาจากปากีสถานครับ น้ำผลไม้นี่มาจากปากีสถานล้วนๆ
ตลาดแห่งนี้มันเลยโคตรมีสีสรรมากๆเลยครับ
ต้องถ่ายรูปแบบแอบๆตามเคย มุมก็เลยปิดๆนิ๊ดนึง
ผมใช้เวลาที่นี่อยู่ประมาณ 2 ชั่วโมงได้
ถึงแม้ทหารของทั้งสองประเทศจะเดินตรวจตราไปมาจำนวนพอๆกับพ่อค้าที่นี่เลยก็ตามที แต่ทุกอย่างก็ราบรื่นได้ตั้งแต่จนยันเกือบตอนจบ…
มีตำรวจนอกเครื่องแบบนายหนึ่งเข้ามาประชิดตัวกับพวกเรา พร้อมกับบอกว่า “No photo” แล้วก็พ่นภาษารัสเซียมาเป็นชุดอย่างกับรัวปืนกลใส่ ตอนแรกผมก็ไม่เชื่อ เพราะที่ผ่านมาเจอตำรวจปลอมลักษณะนี้มาตลอดทาง ก็เลยยืนทำหน้างงๆใส่เขา
นายตำรวจนี้เลยอารมณ์เสียเมื่อเห็นผมดูจะไม่เชื่อ โทรไปเรียกเพื่อนมาอีกเป็นกองทัพ ยืนล้อมเราสองคนกันกลางตลาด อันนี้ผมชัวร์แล้วละว่าของจริงแน่นอน จึงบอกเขาไปด้วยภาษาอังกฤษว่าผมถ่ายรูปคนกับตลาด แล้วก็ขอเขาทุกครั้งไปที่จะถ่ายรูป แถมไม่ได้ไปถ่ายติดทหารหรือตำรวจเลยซักกะติ๊ดเดียว แล้วก็เปิดรูปที่อยู่ในกล้องให้เหล่ากองทัพโปลิสพิสูจน์
แต่ด้วยความที่คุยกันไม่รู้เรื่องเลยซักนิด พวกเราก็เลยโดนอัญเชิญไปยังสำนักงานใหญ่ที่มีคนพูดภาษาอังกฤษได้มากกว่านิดนึง จนสุดท้ายก็ยังคุยกันไม่รู้เรื่องอยู่ดี ตำรวจยืนยันคำเดียวว่าให้ลบรูปทั้งหมดออก แม้กระทั่งรูปซองขนมที่ซื้อมาก็ยังต้องลบ ผมนี่งงไปเลยครับ ในที่สุดทุกอย่างก็จบลงเมื่อผมทำตามที่เขาต้องการ
กลับมาที่คอมพิวเตอร์ ผมใส่ SD Card เปิดโปรแกรม recovery กดปุ่มเดียว ไฟล์กลับมาหมดเลยครับ ผมนี่งงเป็นครั้งที่สอง
แล้วหลังจากนั้น ฝนก็ถล่มช่วงเวลาดีๆในตลาดสองแผ่นดินไปจนเปียกโชก
ไม่มีทางอื่นนอกจากจะหลบฝน แต่ดูท่าทางแล้วไม่หยุดง่ายๆ จึงเดินทางต่อไปยังหมู่บ้าน Iskhashim ที่อยู่ห่างจากตลาดๆราว 2-3 กิโลเมตรได้
คนที่นี่ชอบถ่ายรูป
ยิ่งโดยเฉพาะเด็กๆแล้ว นี่เกือบจะว่าทุกเลยก็ว่าได้
การถือกล้องตัวใหญ่ๆไปมันคือความน่าตื่นเต้นของน้องๆ ที่มักจะคิดว่าผมเป็นช่างภาพมืออาชีพ
แล้วยิ่งบอกว่าจะได้ไปออกทีวีด้วย นี่แบบว่าเก๊กหล่อกันเต็มที่
โตขึ้นไป ดูมีแววนะน้อง
ส่วนเด็กสาวสองคนนี้ก็แล่บลิ้นให้ผมตามประสาเด็กเมื่อวานซืน
อย่าถามครับว่าคุยกันรู้เรื่องเหรอ
ก็ลองคิดถึงตอนที่เราเด็กๆดูซิ เราเคยพูดกับเด็กรู้เรื่องเหรอ ต่อให้เป็นเด็กไทยก็เถอะนะ
ของแบบนี้มันต้องใช้การหลอกล่อเป็นหลัก เอาเทคนิคหลอกเด็กเข้าสู้
“ซาลาม อะลัยกุม” ผมกล่าวทักทายไปยังเด็กน้อย
ไม่มีสัญญาณตอบรับมา มีเพียงแต่รอยอมยิ้มที่อยู่
ผมจึงเดินเข้าไปหาเจ้าหนู พร้อมกับนั่งยองๆเพื่อให้คว
เด็กน้อยรับอย่างเขินอาย เจ้าคนพี่จึงหยิบไปแกะออกแล
เท่านั้นแหละครับ คงเป็นเพราะช็อคโกแลตผมอร่อ
หลังจากถ่ายรูปกันจนหนำใจ ผมยื่นนิ้วก้อยให้เจ้าหนูทั
“เราเป็นเพื่อนกันแล้วนะ เอาไว้เจอกันใหม่ตอนน้องโตข
ผมคิดว่าเจ้าหนูสองคนนี้ไม่
ก่อนจะจากกัน ผมสอนน้องทั้งสองทำท่าแฟนพันธ์ุแท้ก่อน
เจ้าคนพี่ดูจะเข้าใจและทำตามได้อย่างรวดเร็ว
ส่วนเจ้าตัวเล็กดูจะงงกับมือตัวเองไม่น้อย เลยเป็นอย่างที่เห็น 555
ลาก่อยยยยยยยย
วันที่สาม ยังไม่ถึงครึ่งทาง แต่อิ่มประสบการณ์ไปพอตัว
ผมใช้เวลาในช่วงสุดท้ายของวัน ยืนอยู่ที่ริมแม่น้ำเปียจ์ที่ไหลอย่างสงบหนึ่งดุจน้ำนิ่งไหลลึก
เราสองคนยืนปลดทุกข์กัน เอ้ย ปรับทุกข์
พูดถึงความรู้สึก และอารมณ์ในเวลานั้นที่หลงทางมาได้ไกลถึงเพียงนี้
ยังมีเรื่องราวอีกมากมายที่รอรับการบอกเล่า
รอพบกันต่อในตอนที่ 2 นะครับ
ที่นี่ เร็วๆนี้