อุซเบกิสถาน หนึ่งในประเทศของภูมิภาคเอเชียกลางเป็นหนึ่งในจุดหมายที่ถูกคนมองข้ามมากที่สุด และ “อุซเบกิสถาน” คือหนึ่งในนั้น ก่อนจะไปไกลถึงยุโรปเอย แอฟริกาเอย หรืออเมริกาใต้เอย ลองหันกลับมาสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามากขึ้นกันดีไหมครับ ผู้คน อาหาร การเดินทาง และบรรยากาศที่แตกต่างออกไป ทำให้ภูมิภาค “เอเชียกลาง” รวมถึง “อุซเบกิสถาน” เป็นที่ๆไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร
อุซเบกิสถาน เป็นหนึ่งประเทศในกลุ่ม 5 สถาน
ที่ถือว่าเดินทางมาเที่ยวได้ง่ายที่สุด ประเทศขนาดไม่ใหญ่มาก ระบบขนส่งสาธารณะถือว่าดีผู้คนเป็นมิตร และที่สำคัญอาหารอร่อย
Tashkent
ถ้าหากว่าอุซเบกิสถานเป็นประเทศที่ถูกมองข้ามไปแล้ว เมืองหลวงอย่าง “ทาชเคนท์” ก็คงมีสถานะที่ไม่ต่างกัน เพราะส่วนใหญ่เรามักจะใช้เมืองหลวงแค่เป็นที่ ขึ้น-ลง เครื่องบินเท่านั้น แต่จริงๆแล้วเมืองนี้ก็ถือว่ามีอะไรให้ดูไม่ใช่น้อย
“Samarkand” หรือ “ซามาร์คันด์”
ความพีคที่สุดของอุซเบกิสถานก็คือที่นี่ละครับความสวยงามของสถาปัตยกรรมในรูปแบบเปอร์เซีย
“Bukhara” หรือ “บูคารา”
โอเอซิส กลางทะเลทรายจุดชัยภูมิพักผ่อนอันสำคัญของเหล่าพ่อค้าในสมัยโบราณที่ต้องหาแหล่งน้ำก่อนจะเดินทางข้ามทะเลทรายไปยังเปอร์เซีย
Chorsu Bazaar
หรือตลาดกลางประจำเมืองหลวงนั่นเอง ถ้าอยากดูวิถีชีวิตชาวบ้าน สถานที่สุดคลาสสิคที่ควรต้องไปเยือนก็คือ “ตลาด” และถ้าในทาชเคนท์ ก็ต้องเป็นที่นี่เท่านั้นละครับ
หน้าตาของคนอุซเบค ออกจะละม้ายคล้ายคลึงไปเหมือนกับคนรัสเซียได้ เพราะที่นี่เคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตครับ
และอาหารจานหลักของพวกเขาบนโต๊ะ ก็จะมี บะหมี่ ข้าว และ แผ่นขนมปังที่เรียกว่า นาน หนูน้อยกำลังมองบะหมี่หลากหลายชนิดอย่างตาไม่กระพริบ
ในทาชเคนต์จะมีถนนเส้นหนึ่งที่เรียกว่า “Broadway” หรือในชื่อ “Sailgokh Street” ที่เป็นถนนคนเดินและชุกชุมไปด้วยศิลปินจำนวนมาก
สิ่งหนึ่งที่ “ห้ามพลาด” คือการมาที่ “Central Asian Plov Centre”
พูดในเข้าใจง่ายที่นี่ “ศูนย์ข้าวผัดที่ใหญ่ที่สุดในอเชียกลาง”แต่ฟังแล้วอาจจะงงกว่าเดิม
คือเรื่องของเรื่อง คนอุซเบค เขาจะกิน ข้าวผัด หรือเรียกว่า Plov เป็นหนึ่งในอาหารหลักมากๆๆ (เปรียบได้เหมือนกับกระเพราหมูสับราดข้าวของบ้านเรา) ในเมืองก็มีร้านขาย Plov จำนวนมาก แต่ที่นี่คือศูนย์กลางของการผัดข้าวที่ใหญ่ที่สุด เว่อวังอลังการครับ ไม่มีหมูนะครับ ที่นี่เป็นประเทศมุสลิม อาหารส่วนใหญ่เป็นเนื้อครับ
ถนน “Broadway” ที่ได้กล่าวมาแล้วและผู้ชายที่ขี่ม้าอยู่ด้านหลังก็คือ “Amir Timur” หรือ “Tamerlane” หรือที่คนไทยรู้จักกันในชื่อ “ทาเมอร์เลน” สำหรับชาวตะวันตกแล้ว เขาคือจอมทัพผู้เหี้ยมโหด แต่สำหรับชาวอุซเบคแล้ว เขาคือวีรบุรุษของคนในชาติ
Hazrati Imam complex ศูนย์กลางของศาสนาอิสลามประจำประเทศ
คนอุซเบกิสถานหน้าตายังไง??
ผมว่าภาพนี้อธิบายโครงสร้างหน้าตาของคนอุซเบคได้ดีมากๆ เพราะมีหลายเชื้อชาติในคนที่เป็นสัญชาติเดียวกัน
ถ้าแบบ รัสเซีย ก็คือผิวขาวๆ จมูกโด่งๆ ตาสีฟ้า คนที่มอสโควหน้าตายังไง ก็หน้าแบบนั้นครับ ถ้าแบบ ทาจิก เนื่องจากที่นี่พรมแดนติดกับทาจิกิสถาน คนบางส่วนจะเป็นเชื้อชาติผสมได้ ซึ่ง…
คนทาจิกหน้าตาก็จะค่อนข้างละม้ายคล้ายไปกับเอเชียใต้มากขึ้น มีความเป็นแบบอัฟกัน+ปากีสถานมากขึ้น
ถ้าแบบอุซเบคแท้ๆ ก็จะอารมณ์ ส่วนผสมของ ตะวันตก+ตะวันออก ได้ความพอดีมารวมกัน ผิวไม่ขาวไม่เข้ม ตาสองชั้น จมูกโด่งเป็นสัน ครับ
หลังจากที่ใช้เวลาที่ “ทาชเคนท์” (Tashkent) กันอย่างเพียงพอแล้ว ก็ได้เวลาที่เราจะไปกันต่อยังเมืองต่อไปคือ “ซามาร์คันด์” (Samarkand) เมืองที่เป็นเหมือนกับสัญลักษณ์ของประเทศนี้รวมไปถึงภูมิภาคนี้เลยก็ว่าได้
ชาห์ อิ ซินดา (Shah i Zinda Complex) หรือ สุสานหลวงของที่นี่ครับ (Necropolis)
ที่นี่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ของเมืองซามาร์คันด์ที่เราสามารถดูกระเบื้องลายโมเสคที่มีความละเอียดอ่อนช้อยขั้นสูงสุดของอารยธรรมเอเชียกลางได้ครับ
บรรดาโลงศพจำนวนมากที่่ตั้งอยู่ภายในบริเวณอารามแห่งนี้
อีกหนึ่งมุมมหาชนที่ทุกคนต้องเดินทางมาชมด้วยตาตนเอง
ทีอุซเบกิสถาน เวลาหิมะตกลงมา นี่บรรยากาศไม่ต่างจากญีปุ่นเลยนะครับ ผมคอนเฟิร์ม
ถนนหนทางในเมืองซามาร์คันด์- University Boulevard
ตลาดกลาง (Siyab Bazaar) ประจำเมืองซามาร์คันด์ ที่ๆซึ่งชีวิตประจำวันดำเนินไปอย่างเรียบง่ายแผ่นขนมปัง “นาน” อาหารประจำชาติของคนที่นี่
ลัดเลาะเดินไปตามตรอกซอกซอย ก็จะพบกับบรรยากาศในรูปแบบที่่แตกต่างออกไป และผมก็ได้พบกับเหล่าวัยรุ่นผู้คุมซอยอยู่ข้างหน้า และก็แน่นอน “รอยยิ้ม” ยังคงเป็นภาษากายที่ใช้ได้ทั่วโลกเหมือนเช่นเคย
สุสานหลวงของอามีร์ ติมูร์ (Gur-e-Amir Mausoleum)
ที่นี่คือสถานที่บรรจุโลงศพของข่านที่สำคัญของจักรวรรดิติมูร์ในสมัยนั้น รวมถึง ร่างของทาเมอร์เลน บรรยากาศภายในโถงกลางใหญ่ประจำสุสาน โลงศพของอามีร์ ติมูร์ ก็คือโลงสีดำที่อยู่ทางด้านซ้ายของภาพ
บนโลงมีข้อความสลักไว้ว่า “เมื่อข้าได้ฟื้นคืนจากความตายอีกครั้ง โลกจะต้องลุกเป็นไฟ”
และอีกหนึ่งข้อความเขียนไว้ว่า “ถ้าหากมีใครมาเปิดสุสานของข้าง มันจะต้องพบกับการรุกรานครั้งยิ่งใหญ่ที่น่ากลัวและโหดร้ายกว่าข้ามากนัก”
เป็นเรื่องจริงที่ว่า หลังจากที่โจเซฟ สตาลิน ผู้นำของโซเวียตในยุคนั้นได้สั่งให้นักมานุษยวิทยาเปิดโลงศพของติมูร์ สองวันถัดมาจักรวรรดินาซีเยอรมันก็ยกทัพบุกรัสเซีย แบบไม่มีการประกาศสงครามล่วงหน้า ในชื่อปฎิบัติการ “Operation Barbarossa” ความละเอียดของงานสลักลงไปในหินอ่อนขั้นสูงสุด
Ulugh Beg หรือ อูลุคเบค
หนึ่งในผู้ปกครองจักวรรดิ์ติมูร์ เป็นหลานของทาเมอร์เลน แต่โด่งดังเป็นที่รู้จักจากความสามารถเรื่องของดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์
เลียบีเฮ้าซ์ (Lyab i Hauz)
เป็นสถานที่สำคัญของเมืองที่ตั้งอยู่บริเวณริมสระน้ำ รอบด้านคือโรงเรียนสอนศาสนา และบริเวณมุมรอบๆ สระจะมีต้นมัลเบอร์รี่ (ต้นหม่อน) ที่สามารถมาเที่ยวได้ทั้งตอนกลางวันและกลสงคืน
โรงเรียนสอนศาสนา คูเคลดาสช (Kukeldash)
Chor Minor
อีกหนึ่งมัสยิดและโรงเรียนสอนศาสนาที่สำคัญของเมืองหลวงมรดกโลกแห่งนี้
Toqi Sarrafon bazaar
ตลาดขายของที่ระลึกที่เป็นส่วนหนึ่งของเขตเมืองเก่า
คุณลุงมาดขรึมที่ผมไม่ต้องขออนุญาตเพื่อถ่ายรูปของแก แต่แกเป็นคนโบกมือให้เรียกมาถ่ายให้แกหน่อย วิถีชีวิตประจำวันของชาวเมืองบูคารา
เขตเมืองเก่าบูคารามองจากป้อมปราการดิอาร์ค
และนี่คือการเดินทางไปเยี่ยมชมอุซเบกิสถานของผมครับ อุปกรณ์กล้องที่ใช้สำหรับอัลบั้มนี้ทั้งหมด
– Nikon D750
– Nikon AF-S Nikkor 58mm f/1.4 G
– Nikon 70-200mm f/4 VR
– Nikon 16-35mm f/4 VR
– Nikon AF DX Fisheye 10.5mm f/2.8G ED
ยังมีอีกหลายๆที่รอพวกเราไปเที่ยวกันนะครับ เพราะการเดินทางเริ่มต้นแค่คุณออกจากจุดเดิมๆครับ