ครั้งหนึ่งของชีวิตกับซาฟารีที่แทนซาเนีย (Tanzania Safari)
ผมสรุปการเดินทางให้แบบคร่าวๆเอาไว้สำหรับวางแผนนะครับ
- Day 1
ส่วนใหญ่ถ้าเป็นไฟลต์ของ Kenya airways หรือ Ethiopian airlines ก็จะออกจากกรุงเทพช่วงเวลา 01.00- 02.00 และจะมาเปลี่ยนเครื่องที่ Nairobi หรือ Addis Ababa ตามลำดับ แล้วจะมาถึงสนามบิน Kilimanjaro Internation Airport (KIA) ในเวลาประมาณ 9 โมงและ 12 โมงตามลำดับ จากนั้นก็จะเข้าไปพักกันที่เมือง Arusha ที่อยู่ห่างออกไปทางตะวันตกซึ่งถือว่าเป็นเมืองที่เจริญที่สุดของภาคเหนือนี้ครับ
- Day 2 วันนี้จะเป็นวันแรกของการออกท่องดูโลกแห่งสัตว์ป่า แนะนำ 2 อุทยานให้เลือกไปครับ เลือกอันไหนก็ได้ครับ
- Tarangire National park
- Lake Manyara National park
โดยจะเลือกอันไหนก็ได้ เพราะถือว่าอยู่ไม่ไกลกัน และตอนนอนให้เลือกนอนแถวๆ Lake Manyara เพราะในวันถัดไปจะเดินทางไปต่อได้ค่อนข้างง่ายและเซฟเวลาครับ
- Day 3 เดินทางไปยัง Ngorongoro Conservation Area ผ่านแวะชมหมู่บ้านของชาวมาไซ และหุบเขาโอดูไว หลังจากนั้นเดินทางไปเซเรงเกติ พร้อมกับ Game drive นอนที่เซเรงเกติ
- Day 4 Game drive ทั้งวันที่เซเรงเกติ นอนที่เซเรงเกติ
- Day 5 เดินทางกลับมาที่โกโรงโกโร่ หลังจากนั้น Game drive ที่ก้นปากปล่อง นอนที่โกโรงโกโร่
- Day 6 เดินทางกลับเมืองอรุชา พร้อมกับแวะเที่ยวระหว่างทาง
- Day 7 เที่ยวในเมืองอรุชาช่วงเช้า หลังจากเดินทางกลับกรุงเทพ ไฟลต์ส่วนใหญ่จะออกเดินทางในช่วงบ่ายๆเกือบเย็นครับ
เมืองอรุชา (Arusha)
อุทยานแห่งชาติทาแรงกิเร (Tarangire National park)
ในเขตภาคเหนือของแทนซาเนีย อุทยานแห่งชาติที่เราจะเดินทางไปถึงเป็นที่แรกก็คือที่นี่ครับ “อุทยานแห่งชาติทาแรงกิเร” ทีนี่มีเอกลักษณ์ที่มี “ต้นเบาบับ” อยู่เป็นจำนวนมาก และมีจำนวนโขลงช้างแอฟริกาที่ถือว่ามากที่สุดของประเทศแทนซาเนีย ทาแรงกิเร เป็นภูมิประเทศแบบ Woodland savannah มีแม่น้ำทาแรงกิเรไหลผ่าน กลายเป็นหลอดเลือดสำคัญของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งมวลของอุทยานแห่งชาติที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้าของประเทศแทนซาเนีย เมื่อเรามองจากยอดเขาลงไปยังแม่น้ำเบื้องล่างจะเป็นจุดชัยภูมิที่ดีที่สุดในการดูสัตว์ที่แวะวนมาหากินตามเขตริมแม่น้ำ
East African Rift Valley
จากทาแรงกิเร ผมไปต่อยังเขตที่ราบสูงทางตอนเหนือของประเทศ โดยได้พักค้างคืนที่ Lake Manyara Wildlife Lodge ที่ตั้งอยู่บนริมหน้าผาเหนือเขตของภูเขาที่เราเรียกว่า “แอฟริกัน ริฟต์ วัลเลย์” (East African Rift Vallety) โดยเขตนี้เป็นเขตรอยต่อของแผ่นเปลือกโลกจำนวน 2 แผ่นใหญ่คือ Nubian plate และ Somali plate โดยแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นนี้ค่อยๆเคลื่อนตัวกันออกอย่างช้าๆ ในอีก 10 ล้านปีข้างหน้า ทวีปแอฟริกาจะแยกออกเป็นสองส่วนโดยมีทะเลคั่นอยู่ตรงกลาง และรอยต่อของทะเลอันนั้นก็คือจุดที่ผมกำลังยืนอยู่ ทางฝั่งซ้ายมือ คือทะเลสาบมันยารา (Lake Manyara) และทางฝั่งขวามือคือริฟต์วัลเล่ย์ที่ยกตัวขึ้น ก่อนเส้นทางจะนำผมไปสู่เขตที่ราบสูงโกรองโกโร่ในวันถัดมา (Ngorongoro)
Ngorongoro Conservation area (NCA)
หลังจากผ่านที่อยู่ของชุมชนแห่งสุดท้ายที่เมือง Karatu เราจะเข้าสู่เขตอนุรักษ์โกรองโกโร่ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในพื้นที่นี้จะมีแต่ชาวมาไซเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยได้ นอกจากนี้ที่นี่ยังมีปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้วที่ชื่อว่า “โกโรงโกโร่” (Ngorongoro crater) ที่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งสุดยอดสถานที่ซาฟารีตั้งอยู่อีกด้วย แต่ในวันนี้ผมจะเดินทางไปยังเซเรงเกติก่อน แล้วในขากลับจะค่อยมาแวะที่นี่อีกครั้ง
Masaai Boma หมู่บ้านของชาวมาไซ
ถ้านับจำนวนประชากรแทนซาเนียที่ประกอบขึ้นด้วยคนหลายร้อยเผ่าแล้ว แต่เรากลับรู้จักคนเผ่าหนึ่งเป็นอย่างดี ด้วยสีสันของเสื้อผ้าที่เด่นสะดุดตากว่าใคร ขนบธรรมเนียมประเพณีและการใช้ชีวิตแบบผู้เร่ร่อนยังคงอนุรักษ์ไว้ได้เฉกเช่นอดีต อีกทั้งถิ่นที่อยู่อาศัยที่อยู่บนเขตที่ราบสูงตอนเหนือ ณ บริเวณที่เรียกทีราบสูงโกรองโกโร่ (Ngorongoro) อันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวดูสัตว์ป่าชื่อดังของโลก คนเผ่านี้เลยกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปไปในเวลาเดียวกัน
การเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวมาไซที่เรียกว่า “โบม่า” (Boma) คือกิจกรรมที่ห้ามพลาดอย่างเด็ดขาด
โดยเส้นทางระหว่างนั้นเราจะพบกับโบม่าจำนวนมากมายรวมถึงชาวบ้านที่มายืนพบปะกับนักท่องเที่ยวเพื่อเรียกให้เราไปดูหมู่บ้านของพวกเขาแลกกับค่าเข้าชมที่เขาจะได้รับกลับคืนไป
Masaai women (En-tito) สังคมของชาวมาไซ นั้นเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่อย่างชัดเจน ผู้ชายมีหน้าที่ออกล่าสัตว์ เลี้ยงดูแลฝูงสัตว์ ส่วนผู้หญิงนั้นจะอยู่ที่บ้านคอยหาน้ำ ทำกับข้าวและเลี้ยงดูลูกๆที่เกิดขึ้น
ด้วยความที่ชาวมาไซถือว่าแต่งงานกันค่อนข้างเร็ว และเป็นสังคมโพลีกามี่ (Pologamy) คือสามีสามารถมีภรรยาได้มากเท่าที่ต้องการ การจะเห็นเด็กเล็กๆวิ่งไปมาในหมู่บ้านจำนวนมากจึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด
การเข้ามาชมภายในโบม่า จะมีการแสดงร้องเพลงประจำเผ่า การกระโดดอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวมาไซ รวมถึงสาธิตวิธีการจุดไฟด้วยวิธีทางธรรมชาติ คือใช้มือเปล่าปั่นกับไม้อย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นความร้อนขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วรีบจุดไฟด้วยมูลสัตว์ที่เตรียมไว้แล้ว
นักรบมาไซ หรือ โมราน (Massai Warrior or Moran) เมื่อเด็กชายชาวมาไซอายุได้ 14 ปี ถ้าเป็นในสมัยก่อนการจะพิสูจน์ตรงเองว่าจะกลายเป็นนักรบที่สมบูรณ์ก็ต้องไปฆ่าสิงโตต่อหน้านักรบรุ่นพี่คนอื่นๆถึงจะได้รับการยอมรับ แต่ปัจจุบันไม่สามารถทำอย่างนั้นได้แล้ว ตอนนี้เด็กชายทุกคนที่ผ่านกระบวนการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ (circumcision) ก็ถือว่ากลายเป็นนักรบ (Moran) โดยสมบูรณ์ได้เช่นเดียวกัน โดยหลังจากผ่านพิธีกรรมนั้นแล้วเขาต้องทาหน้าทา
Olduvai Gorge “The Cradle of the Humankind”
ทีนี่เป็นอีกหนึ่งสถานที่ๆมีการขุดค้นพบร่องรอยของการมีอยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานรอยเท้าของบรรพบุรุษของมนุษยชาติรุ่นแรกเริ่มที่ค้นพบบนดินภูเขาไฟถูกทับถมมาหลายล้านปีหรือแม้กระทั่งโครงกระดูกและเครื่องมือหินกระเทาะที่เป็นหลักฐานชี้ชัดว่าแทนซาเนียหรือภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกคือจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่ของมนุษย์เราในยุคเริ่มต้นจากลิงมาสู่คนที่เดินหลังตรงแล้วค่อยๆออกจากทวีปแอฟริกาไปยังส่วนต่างๆของโลกเช่นในปัจจุบันนี้
เมื่อเราเข้าสู่เขตของอุทยานแห่งชาติเซเรงเกติ (Serengeti National park) จำนวนความหนาแน่นของสัตว์ป่าก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลไปทุกๆตารางเมตร ระบบนิเวศอันยิ่งใหญ่ที่สัตว์ทุกชนิดเชื่อมโยงถึงกันทำให้ที่นี่เป็นจุดดูสัตว์ป่าที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลกเรา ตอนนี้ฝูง “ฮาร์ทบีสต์” (Heartbeast) กำลังจ้องมองคนแปลกหน้าอย่างพวกเราที่กำลังจ้องหน้ามันอยู่ ตราบใดที่เราไม่ได้เข้าใกล้พวกเขามากเท่าไรนัก เขาก็ยินดีจะให้เรายืนมองกันไปแบบนี้
และสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเซเรงเกติคือ การได้พบกับสัตว์ที่วิ่งได้เร็วที่สุดในโลกอย่าง “ชีต้าร์” (Cheetah) นั่นเอง การจะส่องหาชีตาร์เป็นอะไรที่ต้องมีความลุ้นอยู่บ้างเนื่องด้วยลักษณะการใช้ชีวิตที่ไม่ได้อยู่เป็นสังคมแบบสิงโต ชีตาร์มักจะอยู่อาศัยกันตัวเดี่ยวๆหรือเป็นคู่ และลายของตัวก็มักจะพรางไปกับสีของหญ้า ทำให้การตามหาชีต้าร์เป็น
ที่พักของผมกลางทุ่งหญ้าสะวันนาแห่งเซเรงเกติคือที่นี่ครับ “แคมป์คาติ คาติ” (Kati Kati Tented camp)
เต็นท์ของที่นี่ถูกสร้างมาให้กลมกลืนกับธรรมชาติมากที่สุดครับ ที่นี่ไม่มีระบบประปาหรือไฟฟ้าของรัฐบาล ทุกอย่างจะเป็นการใช้น้ำบาดาลรวมถึงไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ทั้งสิ้น และที่สำคัญที่สุดคือ ที่ตั้งของเต็นท์ก็ตั้งอยู่กลางทุ่งหญ้าสะวันนาเช่นเดียวกัน นั่นหมายถึงว่า เรากำลังมานอนอยู่ที่เดียวกับสรรพสัตว์ต่างๆ เลยเป็นที่มาของช่วงกลางคืน ที่บรรดาสัตว์ต่างๆโดยเฉพาะช้าง ควายป่า หรือหมาไนไฮยีน่าจะเดินป้วนเปี้ยนรอบเต๊นท์ส่งเสียงร้องสร้างช่วยเสริมสร้างบรรยากาศให้กับการนอนของผมได้เป็นอย่างดี
ที่นี่เป็นแคมป์ที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐานครบทุกอย่างคือ เตียงนุ่มๆ หมอนใบโตๆ ผ้าห่ม กระติกน้ำ โต๊ะเครื่องแป้ง อ่างล้างมือ ชักโครก หรือแม้กระทั่งฝักบัวอาบน้ำอุ่นถือว่าเป็นอะไรที่น่าเหลือเชื่อและน่าตื่นเต้นมากๆเมื่อเทียบกับจุดที่ผมอยู่ ณ ตอนนี้ นอกเหนือจากที่พักแล้ว อาหารก็ย่อมไม่ธรรมดาเช่นเดียวกันครับ
อาหารเช้าในสไตล์ breakfast ก็ยกเครื่องมาจัดเต็มกันกลางทุ่งหญ้าเช่นเคย ไม่มีคำว่าอดหรือกินไม่ได้
หินแบบนี้เรียกว่า “Kopje” ก็คือหินแบบเดียวกับที่เราเห็นในไลอ้อนคิงส์ หินพวกนี้ก็คือบ้านของพวกเหล่าๆสิงโตอีกเช่นกัน ถ้าเราเจอหินก้อนใหญ่ๆ ให้สังเกตไปที่บริเวณจุดอับแสงแดดเราจะเจอสิงโตไปหลบแดดได้ไม่ยาก หรือถ้าแดดไม่แรงพอการมองไปบนก้อนหินก็จะเจอสิงโตได้บ่อยๆเช่นเดียวกัน
ฝูงเหล่า Grant’s gazelle ที่บริเวณหน้าที่พัก อย่างที่บอกไปแล้วว่าที่พักของผมก็คือเซเรงเกติ ไม่มีรั้วใดๆที่กั้นระหว่างสัตว์ป่าและมนุษย์ Grant’s gazelle เป็นสัตว์กลุ่ม antelope ที่พบได้มากที่สุดชนิดหนึ่งของเซเรงเกติ
โดยห้องทุกห้องจะมองเห็นปากปล่องเบื้องล่าง และนี่คือวิวที่เราจะเห็นจากหน้าต่างที่พักในห้องนอนตอนเช้าของขวัญจากธรรมชาติสำหรับผู้ที่ตื่นเช้าอีกเช่นเคย
เนื่องจากภูเขาไฟลูกนี้ดับไปหลายล้านปีแล้ว และดินบริเวณนี้ก็ถือว่าอยู่ในสภาพที่อุดมสมบูรณ์มาก มีทะเลสาบอยู่ตรงกลางที่น้ำไม่เคยแห้งแม้ต่อให้เป็นฤดูร้อง มีหญ้าขึ้นเขียวชอุ่มทั้งปี บรรดาสัตว์ต่างๆที่ได้ย้ายอพยพลงมาหากินยังก้นปากปล่องอันนี้ในรุ่นแรกๆก็เหมือนกับว่าตนเองได้พบที่พักพิงที่แท้จริง ไม่จำเป็นต้องเที่ยวอพยพไปตามฤดูกาล (migration) อีกแล้ว พวกมันจึงอยู่ตั้งรกรากที่นี่แบบจริงจัง พร้อมกับขยายเผ่าพันธุ์จนเติบใหญ่เต็มไปหมดหลังจากผู้ล่า (predator) จึงตามมาเช่นสิงโต ที่นี่เป็นที่ๆมีความชุกของสิงโตต่อตารางกิโลเมตรที่มากที่สุดในโลก
แล้วในที่สุดเราก็หากันจนเจอกับเจ้า “แรดดำ” (Black Rhino) แรดดำ จัดเป็นสัตว์ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ขั้นสูงสุด ภายในก้นปากปล่องแห่งนี้นับจำนวนแรดดำที่มีอยู่เพียงสิบกว่าตัวเท่านั้น การพบแรดดำจึงเป็นความบังเอิญบนความโชคดีขั้นสูงสุดของทริปนี้เลยก็ว่าได้ครับ
สนใจร่วมเดินทางไปกับทัวร์ของหมอๆตะลุยโลก สามารถดูแผนการเดินทางได้ที่นี่นะครับ